[INFOGRAPHIC] ปลั๊กไฟ – ประเทศไหนใช้อะไรดี

คุณรู้หรือไม่ว่าในแต่ละประเทศที่อยู่ในแต่ละทวีปนั้นใช้เต้ารับหัวปลั๊กที่แตกต่างกัน? รวมถึงมีกำลังไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนที่เราจะเดินทางไปยังประเทศปลายทางควรศึกษาเสียก่อนว่าประเทศนั้นใช้หัวปลั๊กแบบไหนกำลังไฟเท่าไหร่เพื่อเตรียมตัวแปลงและเต้ารับที่เหมาะสมติดกระเป๋าเดินทางไปด้วย

ปลั๊กไฟ ประเทศไหน ใช้รูปแบบไหน

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกทริป..อย่าลืมหยิบหัว ปลั๊กไฟ ประเทศปลายทางใส่กระเป๋า

หลายคนอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องเตรียมติดตัวไปก็ได้ เดี๋ยวค่อยไปหาซื้อที่ประเทศนั้น ๆ เลย แต่เมื่อถึงเวลาเดินทางจริง ๆ คุณอาจยุ่งหรือไม่อยู่ในสถานการณ์ที่สามารถหาซื้อได้และมันมักเกิดขึ้นในเวลาที่คุณต้องการมันจริง ๆ เช่น ในเวลาที่คุณต้องการใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณผ่านแอพพลิเคชั่น การใช้สายสนทนาแบบโรมมิ่งหรืออาจต้องการใช้โทรศัพท์ในการถ่ายรูป ถ้าคุณนำกล้องไปด้วยก็ต้องใช้ไฟในการชาร์จแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูปรวมไปถึงการชาร์จไฟเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหากนำไปด้วย เป็นต้น

โชคดีที่มีเว็บที่รวบรวมข้อมูลกำลังไฟและชนิดของปลั๊กที่ใช้งานในแต่ละประเทศเอาไว้ ซึ่งสามารถเปิดดูได้ที่นี่ (http://www.iec.ch/worldplugs/list_bylocation.htm) และสำหรับประเทศที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยวอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน ใต้หวัน โซนยุโรป โซนอเมริกา มีข้อมูลดังนี้

  • ไทย กำลังไฟ 220V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B/C/F
  • ญี่ปุ่น กำลังไฟ 100V 50Hz/60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B
  • เกาหลีใต้ กำลังไฟ 110V/220V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type C/F
  • สิงคโปร์ กำลังไฟ 230V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type C/G/M
  • จีน กำลังไฟ 220 V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type A/C/I
  • ฮ่องกง 220V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type G/D
  • อีนเดีย 230V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type C/D/M
  • ไต้หวัน กำลังไฟ 110V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B
  • ทวีปยุโรป หลายประเทศ เช่น รัสเซีย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ออสเตรีย กำลังไฟ 230V 50 Hz ส่วนใหญ่ใช้ปลั๊ก Type C ร่วมกับ F และ เดนมาร์ก C/F/E/K ส่วนType G เฉพาะประเทศอังกฤษ Type C และ J เฉพาะสวิตเซอร์แลนด์ Type C และE เฉพาะ ฝรั่งเศส เช็ก และเบลเยี่ยม
  • ทวีปอเมริกา  กำลังไฟ กำลังไฟ 120V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B สำหรับ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และกำลังไฟ 120V 60Hz สำหรับบราซิล (เป็นประเทศที่ยังมีไฟฟ้าระบบ 2 แรงดันควรตรวจสอบกำลังไฟก่อนใช้งานเพื่อป้องกันเครื่องใช้ฟฟ้าเสียหาย) บราซิลใช้ปลั๊ก Type C และ N เม็กซิโก กำลังไฟ 127V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B สุดท้าย กำลังไฟ 220V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type C/I สำหรับอาร์เจนตินา
  • ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 230V 50 Hz ใช้ปลั๊ก Type I

ทำความรู้จักกับรูปร่างหน้าตาของ ปลั๊ก TYPE ต่างๆ

ปลั๊กไฟ TYPE A

ปลั๊กไฟ TYPE A
Type A – http://www.iec.ch/worldplugs/typeA.htm

ใช้งานในประเทศ ไทย ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และบางประเทศในโซนอเมริกาอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา เป็นต้น ปลั๊ก Type A นี้คุ้นตาคนไทยเป็นอย่างดีเพราะเป็นปลั๊กที่เราใช้งานกันเป็นประจำ เป็นปลั๊กแบบมีขั้วแบนขนาดเท่ากัน 2 ขั้วสำหรับเสียบที่เต้ารับทั่วไปนั่นเอง

ปลั๊กไฟ TYPE B

 ปลั๊กไฟ TYPE B
Type B – http://www.iec.ch/worldplugs/typeB.htm

ใช้ในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และบางประเทศในโซนอเมริกาอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา เป็นต้น ที่จริงเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชิ้นที่ใช้เราใช้งานกันอยู่ในไทยก็ใช้ปลั๊กแบบนี้ คือมีลักษณะเป็นขั้วแบน 2 ขั้วและขั้วกลม 1 ขั้วซึ่งเป็นขากราวด์ต่อสายดินให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

ปลั๊กไฟ TYPE C

ปลั๊กไฟ TYPE C
Type C – http://www.iec.ch/worldplugs/typeC.htm

เป็นหัวปลั๊กมาตราฐานสากลที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งใช้กันเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรปและในอาร์เจนตินา ปลั๊กมีลักษณะเป็นหัวกลม 2 ขั้ว สังเกตุกันดี ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยก็ยังใช้ปลั๊ก Type C กันอยู่บ้างเพราะเต้ารับในบ้านเรารองรับเจ้าปลั๊ก Type C นี้ด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE D

ปลั๊กไฟ TYPE D
Type D – http://www.iec.ch/worldplugs/typeD.htm

เป็นปลั๊กที่มีขั้วกลม  ขั้วและขั้วกลมใหญ่ซึ่งเป็นขากราวด์อีก 1 ขา ถูกใช้ในประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ตัวปลั๊กมีความคล้ายคลึงกับปลั๊ก Type M และสามารถใช้งานร่วมกับเต้ารับของปลั๊ก Type M ได้

ปลั๊กไฟ TYPE E

ปลั๊กไฟ TYPE E
Type E – http://www.iec.ch/worldplugs/typeE.htm

ใช้ในทวีปยุโรปบางประเทศเช่น ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม หัวปลั๊กมีขั้วกลม 2 ขั้วและคลิปสำหรับกราวด์ 1 ด้าน ส่วนใหญ่สามารถใช้งานเสียบร่วมกับเต้ารับของปลั๊ก Type F ได้

ปลั๊กไฟ TYPE F

ปลั๊กไฟ TYPE F
Type F – http://www.iec.ch/worldplugs/typeF.htm

ใช้ในทวีปยุโรปเกือบทุกประเทศรวมถึงในบ้านเราก็สามาถพบเห็นได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชิ้น หัวปลั๊กมีขั้วกลม 2 ขั้วซึ่งส่วนใหญ่สามารถใช้ร่วมกับเต้ารับ Type E ได้ด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE G

ปลั๊กไฟ TYPE G
Type G – http://www.iec.ch/worldplugs/typeG.htm

เป็นปลั๊กที่มี 3 ขั้วรูปร่างแบนที่มีส่วนปลายเป็นสามเหลี่ยมและมีฟิวส์อยู่ภายในปลั๊กเพื่อความปลอดภัย ถูกใช้ในประเทศอังกฤษ ฮ่องกง สิงคโปร์ สำหรับคนไทยที่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยไปต้องเตรียมอแดปเตอร์สำหรับแปลงไฟไปใช้งานร่วมด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE H

ปลั๊กไฟ TYPE H
Type H – http://www.iec.ch/worldplugs/typeH.htm

เป็นปลั๊กที่เป็นประเภทพิเศษมีรูปทรงเป็นขั้วแบนทั้ง 3 ขั้ว เอียงเข้าหากัน ถูกใช้ในประเทศอิสราเอลเท่านั้นซึ่งขณะนี้ประเทศอิสราเอลกำลังเปลี่ยนไปใช้งาน Type C และ Type M ซึ่งเป็นหัวกลมทดแทนแล้ว

ปลั๊กไฟ TYPE I

ปลั๊กไฟ TYPE I
Type I – http://www.iec.ch/worldplugs/typeI.htm

เป็นปลั๊กที่มีขั้วแบน 3 ขั้วคล้าย Type H แต่เอียงออกไปด้านข้างเป็นรูปตัว V ไม่เอียงหากัน ถูกใช้ในประเทศออสเตรเลีย จีน อาร์เจนตินา หากใช้ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าของไทยต้องใช้ตัวแปลงไฟร่วมกับปลั๊กด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE J

ปลั๊กไฟ TYPE J
Type J – http://www.iec.ch/worldplugs/typeJ.htm

ถูกใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยหัวปลั๊กมีลักษณะเป็นขั้วกลม 3 ขั้ว แต่โชคดีที่เต้ารับของปลั๊ก Type J สามารถใช้ร่วมกับปลั๊ก Type C ที่มีขั้วกลม 2 ขั้ว หากนำเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีปลั๊กเป็น Type C ไปก็สามารถเสียบใช้งานได้เลยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์

ปลั๊กไฟ TYPE K

ปลั๊กไฟ TYPE K
Type K – http://www.iec.ch/worldplugs/typeK.htm

เป็นปลั๊กที่ถูกใช้บางประเทศในทวีปยุโรป เช่น เดนมาร์ก โดยหัวปลั๊กมีขั้วกลม 2 ขั้วและขากราวด์อีก 1 ขา ซึ่งเต้ารับของปลั๊ก Type K นี้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหัวปลั๊กแบบ Type C ได้เลยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์แปลงกำลังไฟ

ปลั๊กไฟ TYPE L

ปลั๊กไฟ TYPE L
Type L – http://www.iec.ch/worldplugs/typeL.htm

ถูกใช้ในประเทศอิตาลี หัวปลั๊กมีขั้วกลมเรียงในแนวเดียวกัน 3 ขั้ว โดยขากลางเป็นกราวด์ ซึ่งเต้ารับของปลั๊ก Type L นั้นสามารถใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหัวปลั๊กแบบ Type C และ Type F โดยสามารถนำปลั๊กมาเสียบได้เลยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์แปลงกำลังไฟ

ปลั๊กไฟ TYPE M

ปลั๊กไฟ TYPE M
Type M – http://www.iec.ch/worldplugs/typeM.htm

เป็นปลั๊กที่มีหัวกลม 2 ขั้วและขากราวด์ที่มีขนาดใหญ่กว่าขั้วกลมทั้งสอง ถูกใช้ในประเทศแอริกาใต้และประเทศใกล้เคียง ซึ่งเต้ารับของปลั๊ก Type M สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีปลั๊ก Type D ได้โดยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์แปลง

ปลั๊กไฟ TYPE N

ปลั๊กไฟ TYPE N
Type N – http://www.iec.ch/worldplugs/typeN.htm

เป็นปลั๊กที่มีหัวกลม 3 ขา มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Type J แต่ขากราวด์อยู่ชิดกับขั้วหลักมากกว่า ปลั๊ก Type นี้ถูกใช้ในประเทศบราซิลเท่านั้น สำหรับเต้ารับของ Type N สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหัวปลั๊กแบบ Type C ได้

ปลั๊กไฟ เยอะขนาดนี้ ทำอย่างไรดี?

หลังจากศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกำลังไฟและหัวปลั๊กที่สามารถนำไปใช้งานได้ในประเทศนั้น ๆ แล้ว ก่อนอื่นคุณต้องสำรวจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คุณจะนำติดตัวไปนั้นมีอะไรบ้าง มีกี่ชิ้นและใช้หัวปลั๊กแบบใด หากดูแล้วไม่สามารถใช้ร่วมกับเต้ารับของประเทศนั้นได้ คุณต้องเตรียมหัวแปลงของประเทศนั้นอย่างน้อยหนึ่งอันและปลั๊กพ่วงที่มีเต้าเสียบสามารถรองรับกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณได้ เช่น หากคุณนำมือถือ กล้องถ่ายรูป และโน้ตบุคติดตัวไปด้วย ปลั๊กพ่วงที่มีสามช่องก็น่าจะเพียงพอ แต่หากประเทศที่คุณไปมีกำลังไฟมากกว่าคุณต้องเตรียมอะแดปเตอร์แปลงกำลังไฟใส่กระเป๋าไปด้วยอีก 1 ชิ้น และหากใครเดินทางบ่อยแนะนำให้ซื้อหาหัวแปลงแบบ Universal ติดไว้เลยราคาอยู่ที่ประมาณ 200-400 บาทเท่านั้น

สำหรับแบบ Premium ที่ขายกันอย่างแพร่หลายที่สนามบินทั่วโลกราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 บาท ซึ่งเป็นแบบ All-in-one อันเดียวอยู่ ไม่ต้องค้นหาว่าประเทศนี้ใช้ปลั๊กแบบไหนเพราะสามารถใช้แทนได้ทุก Type

นอกจากนี้ยังตัวแปลงที่เป็น Port USB เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนในการชาร์จมือถือไม่ว่าที่ใดก็ตาม ซึ่งมีสนนราคาตั้งแต่ 400-1200 บาทซึ่งได้เป็น World Travel Adapter kit ของ Apple เลยทีเดียว เท่านี้คุณก็พร้อมเดินทางถ่ายรูปได้รัวๆ ไม่กลัวแบตหมดแล้วล่ะ

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและดูแลคุณ

อลิอันซ์ทราเวลเป็นผู้นำระดับโลกด้านประกันภัยการเดินทางและบริการช่วยเหลือทั่วไป เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายให้เลือก ครอบคลุมตั้งแต่แผนรายเที่ยว แผนรายปี แผนครอบครัว ไปจนถึงแผนเดินทางศึกษาต่อต่างประเทศ เราทุ่มเทที่จะให้บริการช่วยเหลือและปกป้องคุณทุกที่ ทุกเวลาเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประกันภัยและการให้ความช่วยเหลือ แต่เรามุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มากกว่านั้น และทุกบริการของเราก็เพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา

5 ทิปส์ ผู้หญิงเที่ยวคนเดียวอย่างไรให้ปลอดภัย

สำหรับการออกเที่ยวคนเดียวหรือ Solo Traveler ถือว่ากำลังเป็นเทรนด์ที่ไม่ว่าใครๆก็ต้องออกไปฉายเดี่ยว เที่ยวฮิปๆกันทั้งนั้น แต่การไปเที่ยวคนเดียวนั้นใจกล้าอย่างเดียวไม่พอ การเตรียมความพร้อมก็ถือว่ามีความสำคัญ ดังนั้นวันนี้เราขอนำเสนอ 5 วิธีเที่ยวคนเดียวสำหรับผู้หญิง เที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัยหายห่วง

1. เอกสารและแพลนต้องพร้อม

การเดินทางคนเดียวนั้น หนึ่งสิ่งที่จะเป็นหลักฐานยืนยันตัวตนของเราได้ก็คือเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบัตรประจำตัวประชาชน, พาสปอร์ต, ประกันการเดินทาง, ตั๋วรถหรือเครื่องบิน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยยืนยันตัวตนของเราเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย รวมถึงการวางแผนล่วงหน้าจะทำให้คุณพอมีไอเดียว่าเมืองที่คุณกำลังจะไปนั้นเป็นอย่างไรและคุณต้องพบเจอกับอะไรบ้างเพื่อเป็นการเตรียมสภาพจิตใจและร่างกายให้พร้อมก่อนลงสนามจริง

2. เก็บของมีค่าให้ปลอดภัย

การเดินทางคนเดียวจะต้องรักษาของมีค่าให้ปลอดภัยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการถือกระเป๋า ควรนำกระเป๋ามาไว้ข้างหน้าเพื่อเป็นการป้องกันการล้วงกระเป๋าจากข้างหลัง ทริคที่หลายๆคนใช้คือการใช้กระเป๋าสะพายโทรมๆ เพื่อทำให้ผู้ไม่หวังดีคิดว่าเราไม่มีของมีค่าใดๆในกระเป๋า ในต่างประเทศมีเสื้อผ้าสำหรับการป้องกันการโดนล้วงกระเป๋าอย่างเช่นแบรนด์ Clothing Art ที่ได้ผลิตการเกงที่มีซิปซ้อนซิปเพื่อเป็นการป้องกันแบบสองชั้น หรือวิธีแบบไทยๆก็อาจจะเป็นการเอาหนังยางมัดเงินเอาไว้ในกระเป๋ากางเกง ก็อาจจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ไม่มากก็น้อย อีกหนึ่งสิ่งที่คุณทำได้คือการแตกเงินแบงค์เล็กๆใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงเพื่อไว้หยิบใช้ ส่วนแบงค์ใหญ่ๆเก็บไว้ในซิปของเสื้อชั้นใน

3. โรงแรมคือไกด์ที่ดีที่สุด

หนึ่งสิ่งที่อยากจะแนะนำทุกคนคือเมื่อเช็กอินเข้าที่พักเรียบร้อยแล้ว คุณควรจะสอบถามข้อมูลจากโรงแรมสักนิดว่าในบริเวณไหนของเมืองเป็นแหล่งอันตรายไม่ควรเข้าไป การเดินทางแบบไหนปลอดภัยและสะดวก หรือแม้กระทั่งขอคำแนะนำสิ่งที่ควรระมัดระวังถ้ามาเที่ยวคนเดียว
นอกจากนี้คุณควรขอนามบัตรของโรงแรมเอาไว้เพื่อเป็นข้อมูลหากเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างน้อยคุณยังมีเบอร์โทรศัพท์ของโรงแรมไว้ติดต่อได้

4. อย่าทำตัวเป็นนักท่องเที่ยว

การทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวโดยการใส่เสื้อผ้าที่เขียนว่ามาจากเมืองต่างๆ การกางแผนที่ เปิด Google Map ถือกล้องถ่ายรูปราคาแพงหรือทำท่าหลงทาง อาจจะทำให้คุณกลายเป็นเป้าของมิจฉาชีพ ดังนั้นคุณควรที่จะทำตัวให้กลมกลืนกับคนในพื้นที่มากที่สุดเพื่อไม่เป็นจุดสนใจของผู้ไม่หวังดี ถ้าหากจำเป็นจริงๆที่จะต้องใช้โทรศัพท์มือถือ คุณควรเข้าไปร้านอาหารเพื่อใช้งานแล้วรีบเก็บมันเข้ากระเป๋า

5. อย่าขัดขืนจะอันตรายต่อชีวิต

ถ้าหากคุณโดนประชิดตัวเพื่อชิงทรัพย์ คุณไม่ควรต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งของเหล่านั้น เพราะหลายๆเมืองในหลายประเทศมีประชากรคนจนจำนวนมาก พวกเขาสามารถทำได้แม้กระทั่งการทำร้ายผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นถ้าคุณตกอยู่ในเหตุการณ์คับขัน ให้ถือว่าเป็นการเสียทรัพย์สินเล็กๆน้อยๆเพื่อรักษาชีวิตที่มีค่าของคุณเอาไว้ก็แล้วกัน

และนี่ก็คือ 5 ทิปส์สำหรับการดูแลตัวเองระหว่างการเที่ยวคนเดียวของผู้หญิง โดยทริปของคุณในอนาคตนี้ อย่าลืมที่จะเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อมเพื่อออกไปเผชิญโลกกว้างอย่างปลอดภัยไร้กังวล

10 ประโยคที่ควรฝึกพูดก่อนตะลุยทริปต่างประเทศ

สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะไปเที่ยวต่างประเทศ หลังจากที่คุณได้เลือกสถานที่ท่องเที่ยว ตระเตรียมลางาน จองตั๋วเครื่องบินและที่พัก จากนั้นก็วางแผนจัดตารางเวลาการท่องเที่ยวในแต่ละวันว่าจะไปเที่ยวสถานที่ใดเวลาเท่าไหร่สำหรับทริปของคุณแล้ว ก็มาถึงเวลาเตรียมความพร้อมของตัวคุณเองด้วย นอกจากการจัดเตรียมจัดกระเป๋าเสื้อผ้าและสิ่งของจำเป็นแล้ว คุณควรศึกษาประโยคสื่อสารง่าย ๆ สำหรับพูดคุยกับคนท้องถิ่นเพื่อให้ทริปของคุณราบรื่นและสนุกสนานตลอดการเดินทางค่ะ

เอ่ยคำทักทาย สวัสดีค่ะ/สวัสดีครับ เป็นภาษาท้องถิ่น

นอกจากการโบกมือทักทายหรือสบตาพร้อมส่งยิ้มให้กับคนที่คุณพบเจอเพื่อแสดงความเป็นมิตรแล้ว การกล่าวสวัสดีเป็นภาษาท้องถิ่นก็เป็นการแสดงไมตรีและให้เกียรติคนที่คุณพบด้วย อาจใช้คำทักทายง่าย ๆ ในภาษาอังกฤษอย่าง “Hello” หรือเป็นคำทักทายที่สุภาพได้ใจคนฟังอย่าง “Good Moring” ในภาษาอังกฤษ และ “โอฮาโย โกไซมัส” ในภาษาญี่ปุ่น ลองฝึกประโยคแนะนำตัวง่าย ๆ อย่างเช่น “สวัสดีค่ะ (อัน-นยองฮาเซโย) ดิฉัน(เชกา)ชื่อ.. ดิฉันเป็นคนไทย (เชกา แทกุอิน อิมนิดา)” ในภาษาเกาหลีเป็นต้นค่ะ ซึ่งช่วยให้เจ้าบ้านมีความรู้สึกที่ดีกับเราและคนไทยด้วยนะ

การใช้คำขอโทษเพื่อเรียกหรือสอบถามข้อมูล

หากเราต้องการสอบถามบางสิ่งกับคนที่เดินผ่านไปผ่านมา การเรียกเค้าโดยใช้คำว่า You, you! อาจจะไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่ ควรใช้คำว่า “Excuse me, could you… “ ในภาษาอังกฤษ หรือ “สุมิมาเซน” ในภาษาญี่ปุ่น เพื่อขอโทษและขอรบกวนเวลาสักครู่ในการอสอบถามหรือขอความช่วยเหลือ

การใช้คำขอโทษเพื่อแสดงความเสียใจในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ในระหว่างเดินทางท่องเที่ยวคุณอาจทำอะไรผิดพลาดไปโดยไม่ได้ตั้งใจ การกล่าวคำขอโทษเพื่อแสดงความเสียใจแก่คนท้องถิ่นด้วยภาษาของเค้าเช่น “ชเว-ซงฮัมนีดา” ในภาษาเกาหลีหรือ “Sorry” ในภาษาอังกฤษ จะช่วยให้คนที่ได้ฟังรู้สึกดีและไม่ถือสาหาความคุณแน่นอน

กล่าวขอบคุณพร้อมรอยยิ้ม

หลังจากได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับน้ำใจไมไมตรีจากเจ้าบ้านควรกล่าวคำว่าขอบคุณในภาษาบ้านเค้าเช่น “ออกุน” ในภาษากัมพูชา และ “เซี่ยเซี่ย” ในภาษาจีน รับรองว่าคุณจะได้รับรอยยิ้มกว้าง ๆ ด้วยความยินดีตอบกลับมา

ใช่ / ไม่ใช่ อันนี้ต้องจด

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการสื่อสารหรือสอบถามข้อมูลควรศึกษาคำว่า ใช่/ไม่ใช่ เอาไว้ด้วย เช่น คำว่า “Yes/No” ในภาษาอังกฤษ “เน/อานีโย” ในภาษาเกาหลีเพื่อตอบรับหรือปฏิเสธ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาที่พูดคุยกันเร็วขึ้นค่ะ

การใช้คำขอโทษเพื่อแสดงความเสียใจในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ในระหว่างเดินทางท่องเที่ยวคุณอาจทำอะไรผิดพลาดไปโดยไม่ได้ตั้งใจ การกล่าวคำขอโทษเพื่อแสดงความเสียใจแก่คนท้องถิ่นด้วยภาษาของเค้าเช่น “ชเว-ซงฮัมนีดา” ในภาษาเกาหลีหรือ “Sorry” ในภาษาอังกฤษ จะช่วยให้คนที่ได้ฟังรู้สึกดีและไม่ถือสาหาความคุณแน่นอน

กล่าวขอบคุณพร้อมรอยยิ้ม

หลังจากได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับน้ำใจไมไมตรีจากเจ้าบ้านควรกล่าวคำว่าขอบคุณในภาษาบ้านเค้าเช่น “ออกุน” ในภาษากัมพูชา และ “เซี่ยเซี่ย” ในภาษาจีน รับรองว่าคุณจะได้รับรอยยิ้มกว้าง ๆ ด้วยความยินดีตอบกลับมา

ใช่ / ไม่ใช่ อันนี้ต้องจด

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการสื่อสารหรือสอบถามข้อมูลควรศึกษาคำว่า ใช่/ไม่ใช่ เอาไว้ด้วย เช่น คำว่า “Yes/No” ในภาษาอังกฤษ “เน/อานีโย” ในภาษาเกาหลีเพื่อตอบรับหรือปฏิเสธ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาที่พูดคุยกันเร็วขึ้นค่ะ

ประโยคสอบถามเส้นทาง จำไว้ไม่มีหลง

การไปอยู่ในถิ่นที่ไม่คุ้นเคยถึงแม้ว่าจะมีแผนที่หรือแอพพลิเคชั่นอยู่ในมือบางครั้งคุณอาจเจอเรื่องไม่คาดฝันเช่น แผนที่ยังไม่ได้ปรับปรุง ยิ่งถ้าเจอคนท้องถิ่นที่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ยิ่งเซอไพร์สเข้าไปใหญ่ ดังนั้นคุณควรศึกษาประโยคสอบถามเส้นทาง เช่น ดิฉัน/ผม จะไป..(ชื่อสถานที่)..ได้อย่างไร “(ชื่อสถานที่) วะ โดโกะ เดสก๊ะ” ในภาษาญี่ปุ่น หรือ “How can I get to…..?” ในภาษาอังกฤษ ที่สำคัญควรจดจำศัพท์บอกทิศทางอย่าง ซ้าย, ขวา, และตรงไป “หมิหงิ, หิดาหริ, หมัดซุหงุ” ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งช่วยให้เข้าใจเส้นทางเมื่อมีผู้อธิบายเส้นทางมาได้รวดเร็วขึ้น

ปวดหนัก ปวดเบา กระทันหัน “ห้องน้ำ” เรื่องสำคัญ

หากคุณไม่ได้กำลังเดินซื้อของอยู่ในย่านห้างสรรพสินค้าหรือทานอาหารอยู่ในร้านที่มีห้องน้ำบริการ ในช่วงเวลาวิกฤตที่คุณต้องการห้องน้ำทันทีและรอบข้างไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษได้ คุณต้องจำคำนี้ไว้ให้มั่น “ตุ้บตึ้ก, โซม-ตึ-วะ-บ็อน-ตุบ-ตึก-บาน-เต” แปลว่าขอใช้ห้องน้ำได้ไหมในภาษากัมพูชาหรือ “โอ่ะเต๊ะอะรัย ว๊ะ โด๊ะจิหร่ะ เดสก๊ะ ?” ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ห้องน้ำไปทางไหนคะ/ครับ

หัดนับเลขสกิลสำคัญของขาช็อป

ระหว่างอยู่บนเครื่องบินลองหัดนับ 1-10 ในภาษาของประเทศที่เรากำลังไปเยี่ยมเยือนและจดจำวิธีการออกเสียงของคำว่า สิบ ร้อย พัน หมื่น รับรองว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ ในเวลาจับจ่ายซื้อของไม่ว่าจะเป็นของกินหรือของใช้ที่ไมได้แสดงป้ายราคาบอกไว้ค่ะ

ชิ้นนี้เท่าไหร่ แอบต่อราคาเนียน ๆ

เมื่อเจอของเตะตาถูกใจ อยากได้มาครอบครองลองมองหาป้ายราคา แต่หากไม่เจอก็เข้าไปทักทายคนขายด้วยรอยยิ้มแล้วถามราคาเลยค่ะ “How much” ในภาษาอังกฤษ หรือ “ออลมาเยโย๊” ในภาษาเกาหลีหรือขอลดราคาเนียน ๆ ในภาษาญี่ปุ่น “มะเก๊ะเต๊ะ คุดะไซ” ไม่ต้องเคอะเขิน รับรองได้ของถูกใจกลับเมืองไทยเพียบ

หากคุณป่วยและต้องการหาหมอ

เรื่องสุขภาพของคุณและผู้ร่วมทริปสำคัญมากที่สุด นอกจากการเตรียมหยูกยาที่จำเป็นติดกระเป๋าเดินทางมาแล้ว หากคุณจำเป็นต้องหาหมอเมื่อรู้สึกไม่สบายหรือเกิดอุบัติเหตุเจ็บเนื้อเจ็บตัวโดยไม่คาดฝัน ให้ศึกษาประโยคเกี่ยวกับอาการป่วยไว้ด้วยเช่น “I Feel sick” ฉันรู้สึกไม่ค่อยสบายในภาษาอังกฤษ “หว่อ ปิ้ง เลอ” ฉันกำลังป่วยในภาษาจีน และ ”How can I get to Hospital?” ฉันจะไปโรงพยาบาลได้อย่างไรในภาษาอังกฤษ หรือ “เบียวอิน วะ โดโกะ เดสก๊ะ” ในภาษาญี่ปุ่นในกรณีที่จำเป็นต้องพบหมอ

ที่สำคัญควรทำประกันเดินทางติดไว้ก่อนเดินทางทุกครั้ง เพราะเสียค่าเบี้ยเพียงไม่กี่ร้อยก็ช่วยให้คุณอุ่นใจตลอดการเดินทางว่าหากไม่สบายหรือเจ็บป่วยระหว่างท่องเที่ยวคุณไม่เดียวดายแน่นอนเพราะประกันคุ้มครองและช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ ทำให้คุณหมดกังวลแล้วเที่ยวลั้ลลาได้ตามใจเลยค่ะ

หวังว่าตัวอย่างประโยคเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการเดินทางของคุณ นอกจากการใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสารแล้วอาจต้องใช้ภาษากายหรือที่เราเรียกกันว่าภาษาใบ้นั่นเองซึ่งสามารถช่วยเราได้มากกว่าที่คิดนะคะ นอกจากนี้หากเป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ ควรหาคนที่พูดภาษาอังกฤษหรือภาษาที่คุณถนัดได้เพื่อป้องกันการสื่อสารผิดพลาด พร้อมแล้วก็ออกเดินทางกันเลยค่ะ

SHOPPING สบายกระเป๋าที่ต่างประเทศกับ 5 เทคนิคการต่อราคา

ฤดูหนาวมาแล้วจ้า ช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาทองของการท่องเที่ยวจริง ๆ เพราะอากาศเย็นสบาย มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ดอกไม้ฤดูหนาวเบ่งบานและหิมะตกในบางประเทศด้วย ที่สำคัญตรงกับช่วงปลายปีที่มีวันหยุดยาวติดกันแบบรัว ๆ เชื่อว่าตอนนี้หลายคนคงกำลังวางแผนท่องเที่ยว หรือ ว่ากำลังอยู่ระหว่างการเดินทางค่ะ

การไปเที่ยวต่างประเทศนอกจากไปดูศิลปะวัฒนะธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศที่ไปเยี่ยมเยือน ลิ้มรสอาหารประจำท้องถิ่นที่หาทานได้ยากในบ้านเราและแน่นอนว่าต้องมีช่วงช็อปปิ้งเอาใจทุกคนที่มี Passion ในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองในหัวใจค่ะ ซึ่งนอกจากสินค้าแบรนด์ดังที่มีให้เลือกหลากหลายในราคาที่ถูกกว่าบ้านเราเพราะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าแล้ว ยังมีสินค้าท้องถิ่นและงาน Handmade หรืองานผลิตภายในประเทศที่มักขายคนต่างชาติในราคาแพงกว่าปกติ! ดังนั้นมาดูเคล็ดลับการต่อรองราคาเหล่านี้กันค่ะ

1. มองหาป้ายราคา

การต่อราคาสำหรับสินค้าภายในร้านแบรนด์ดังซึ่งมีป้ายเขียนราคาไว้ชัดเจนนั้นเป็นไปไม่ได้เนอะ แต่หากเป็นร้านในตลาดท้องถิ่นซึ่งมีทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวเดินเลือกสินค้านั้น หากพบของที่ถูกตาต้องใจให้ลองมองหาป้ายราคาค่ะ

  • หากมีป้ายราคาก็ต้องทำใจไว้ก่อนว่าอาจจะต่อราคาไม่ได้ค่ะ อาจจะได้นิดหน่อยจากราคาป้ายเท่านั้น ทั้งนี้เราต้องคิดก่อนว่าราคาที่ตั้งนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่เพราะถ้าราคาที่ตั้งถูกอยู่แล้วอาจโดนพ่อค้าแม่ค้าค้อนใส่ได้ค่ะ
  • หากมีป้ายราคาแต่เป็น 2 ภาษา คือภาษาท้องถิ่นและภาษาอังกฤษให้ลองคิดคำนวณอัตราเปรียบเทียบกันดูค่ะ ถ้าใกล้เคียงกันก็แสดงว่าไม่ได้บอกผ่านค่ะ แต่ถ้าต่างกันมากก็พอจะรู้แนวนะคะว่าต่อได้ประมาณไหน อิอิ
  • ไม่มีป้าย! ถ้าเราถูกใจสินค้าชิ้นนั้นให้คำนวณราคาที่จ่ายไหวไว้ในใจ เมื่อเค้าบอกราคามาเราก็เริ่มต่อรองไปยาว ๆ ค่ะ

2. สำรวจราคาทั่ว ๆ ก่อน

หากสินค้าที่คุณเล็งไว้เป็นสินค้าที่มีขายทั่วไป มีขายหลายร้าน ให้ลองเดินสำรวจดูป้าย หรือสอบถามราคารอบ ๆ จะช่วยให้คาดเดาราคาที่ดีที่สุดที่คุณน่าจะซื้อสินค้าชิ้นนั้นได้ง่ายขึ้น และต่อราคาได้อย่างมั่นใจมากขึ้น เท่านี้กระเป๋าใบนั้นก็ต้องเป็นของขั้น! เอ้ยของคุณในราคาสบายกระเป๋าแล้วล่ะ

3. สุภาพไว้ได้ใจพ่อค้าแม่ขาย

ความสุภาพอ่อนน้อมนั้นช่วยให้คุณได้ดั่งใจหวังเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ที่ต่างประเทศ การทักทายด้วยรอยยิ้มและพูดคุยอย่างสุภาพจะทำให้การต่อรองราคาเป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย พ่อค้าแม่ค้าเมื่อเริ่มมีความรู้สึกทางบวกกับคุณแล้วเค้าก็อยากปิดการขายและคุณก็จะได้สินค้าในราคาที่สมเหตุสมผล แถมเคล็ดลับเล็กน้อยอีกสักนิดให้ลองเรียนรู้คำทักทายและคำขอบคุณเป็นภาษาท้องถิ่นและพูดด้วยรอยยิ้มรับรองว่าเรียกรอยยิ้มจากพ่อค้าแม่ค้าได้แน่นอนค่ะ

4. หาเพื่อนช็อปปิ้ง

ลองหาเพื่อนไปเดินเล่นซื้อของเป็นเพื่อนหากเป็นคนท้องถิ่นยิ่งดีใหญ่เพราะคุณจะได้ราคาเดียวกับคนท้องถิ่นเลยล่ะ แต่หากไม่ใช่ก็ไม่เป็นไร เพราะถ้าเพื่อนของคุณต้องการสินค้าในร้านเดียวกันจะช่วยให้การต่อรองง่ายขึ้นเพราะคนขายคิดคำนวณแล้วว่าต้องขายได้มากกว่า 1 ชิ้นหรืออาจเตี๊ยมกับเพื่อนว่าถ้าคนขายทำทีใจแข็งก็ให้แกล้งเดินออกจากร้านไปเลย จะช่วยให้คนขายเสนอราคาสุดท้ายที่ยินดีขายกับคุณทันที

5. เทคนิคและจิตวิทยา

อาจต้องเล่นใหญ่กันสักหน่อยถ้าคุณอยากได้ของชิ้นนั้นจริง ๆ หากคุณมีราคาที่ยอมจ่ายไว้ในใจและสอบถามคนท้องถิ่นมาบ้างว่าราคาที่ตั้งขายคนต่างชาตินั้นตั้งไว้สูงกว่าราคาขายคนท้องถิ่นกี่ %

  • หลังจากต่อรองแล้วยังไม่ได้ราคาที่พอใจให้ทำทีลังเล หรือทำทีตัดใจ และเดินออกจากร้าน คนขายจะรีบเสนอราคาที่ดีที่สุดที่เค้าขายได้ให้คุณทันที
  • เริ่มต่อรองจากราคา 50% ของราคาที่คนขายตั้ง แล้วคนขายจะค่อย ๆ เสนอราคาที่ขายได้ให้คุณต่อรองเอง ทั้งนี้คุณต้องศึกษามาก่อนว่าราคานักท่องเที่ยวตั้งไว้มากกว่ากี่ % และมีราคาที่เต็มใจจ่ายอยู่ในใจ มิเช่นนั้นแล้วการต่อราคาโดยเริ่มจากราคาที่ผู้ขายขาดทุนย่อยยับก็อาจเป็นการทำเสียมารยาทกับพ่อค้าแม่ค้าและทำให้เกิดความรู้สึกทางลบได้ค่ะ
  • นำเงินสดในจำนวนเท่ากับยอดเงินที่คุณพร้อมจ่ายสำหรับซื้อสินค้าชิ้นนั้นออกมาถือไว้ในมือ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ขายว่าการต่อรองครั้งนี้เค้าจะไม่เสียเวลาเปล่า และช่วยให้คุณได้สินค้าในราคาตรงใจได้ไวขึ้นค่ะ

ไม่ใช่เฉพาะในต่างประเทศเท่านั้นที่ตั้งราคาขายสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยวไว้สูง ในเมืองไทยบ้านเราเองก็มีหลายร้านเช่นกันค่ะ นอกจากค่าสินค้าแล้วหากเป็นค่าบริการ เช่น ค่ารถรับส่ง บริการนวดคลายกล้ามเนื้อ หรือบริการอื่น ๆ ให้สังเกตุและสอบถามจากคนท้องถิ่นที่สนิทสนมค่ะ ต่อราคาได้เยอะเป็นเท่าตัวก็มีนะคะ จะช่วยให้เราประหยัดเงินในทริปนี้ได้เยอะทีเดียวล่ะค่ะ

แพ็คกระเป๋าไปเที่ยวฉบับมือโปร

เคยไหม แบกของพะรุงพะรัง สามสี่กระเป๋าไปเที่ยวกับเพื่อน จนเพื่อนคนหนึ่ง(ที่แอบปลื้มอยู่)ถามว่า นี่จะย้ายบ้านหรอ? ถึงเวลาหาของก็หาไม่เจอ หิ้วไปหิ้วมาก็ไม่ไหว ต้องขอให้เพื่อนช่วยแบกเป็นภาระประชาชี เศร้าใจ

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อคุณทำตามขั้นตอนข้างล่างนี้ อิฉันรับรองว่า ไม่ว่าคุณจะมีอดีตยังไง ทริปหน้า คุณจะกลายเป็นสาวคล่องแคล่ว หนุ่มปราดเปรียว ที่เดินหิ้วกระเป๋าเล็กๆ ชิคๆ ใบเดียวไปเที่ยว ดูเป็นคนมีระเบียบในชีวิตขึ้นมาทันตาเห็น

STEP 1 เลือกกระเป๋าให้เหมาะสม

กระเป๋าล้อลากคือกระเป๋าในอุดมคติสำหรับการท่องเที่ยว หากว่าทริปนั้นคุณไม่ได้ไปตกระกำที่ไหน เดินทางโดยเครื่องบินหรือรถโดยสารที่มีพื้นที่ให้เอากระเป๋าของคุณใส่ลงไป ต้องรีวิวแผนการท่องเที่ยวดีๆ (โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีเพื่อนวางแผนท่องเที่ยวให้ตลอดเวลา) เพราะถ้าไปบุกป่าฝ่าดง หรือมีการเดินทางทางเรือ ก็ขอให้เปลี่ยนมาใช้เป้ Backpack หรือกระเป๋าที่มันไม่มีล้อดีกว่านะจ้ะ

STEP 2 ทำ LIST สิ่งของที่ต้องเอาไป

จดออกมาเลยคะว่าจะเอาอะไรไปบ้าง เรื่องชุดที่จะใส่ก็ให้จินตนาการเป็นรายวันได้เลย เช่น วันที่ 1 เสื้อสีส้มลายมิกกี้เมาส์กับกางเกงขาสั้นอวดเรียวขางาม ว่ากันไป อะไรที่สามารถเอามา mix and match และใส่ซ้ำจะเป็นสิ่งที่เริ่ดมาก เวลาเอาของเข้ากระเป๋าก็ค่อยๆขีดออกทีละอย่าง ให้ชัวร์ว่าเอาไปครบ อ่อ อย่าลืมพกชุดชั้นในกุงเกงในไปเผื่อซักชิ้นสองชิ้นด้วย
ขอเน้นย้ำให้เอาเสื้อผ้าติดไว้กับตัวซักชุดในกรณีโหลดกระเป๋าใต้ท้องเครื่อง เผื่อกระเป๋าหายกระเป๋ามาช้าหนูจะได้มีอะไรใส่ไม่ต้องทนเหม็นในชุดเน่าๆตัวเดิมเน้อ

STEP 3 ของหนัก ของใหญ่ ใส่ก่อน

อะไรที่หนักๆ ใหญ่ๆ รูปร่างประหลาด เช่น รองเท้า ไดร์เป่าผม กระเป๋าของใช้ในห้องน้ำ เป็นต้น ให้เราใส่เข้าไปก่อน ตามด้วยพวกเสื้อผ้าเนื้อหน้า เช่น กางเกงยีนส์ เสื้อสเวตเตอร์ ยิ่งอันไหนหนักๆต้องใส่ให้ล่างๆไว้ ถ้ากระเป๋ามีล้อคือให้ใกล้ๆกับล้อ เพื่อการกระจายน้ำหนักได้อย่างสมบูรณ์ กระเป๋าจะได้ไม่พัง จะถือ จะลาก ก็ง่ายไม่เอนไปทางใดทางหนึ่ง

STEP 4 เบาๆ เล็กๆ มาทีหลัง

พอใส่พวกใหญ่ๆไปแล้ว ค่อยหยอดอันเล็กๆในช่องว่างระหว่างพวกอันใหญ่ๆ ผ้าพันคอชีฟองหรือเสื้อผ้าเบาๆ ก็ให้เอาไว้บนๆ

STEP 5 แพ็ครวมกัน

อันนี้ต้องอาศัยความครีเอทีพส่วนบุคคลเล็กน้อยที่จะสามารถแพ็คของหลายๆสิ่งไว้ด้วยกัน ท่าที่เห็นบ่อยๆ เช่น เอาเครื่องประดับใส่ไว้ในรองเท้าอีกที (อันนี้ต้องมั่นใจว่ารองเท้าหอมสะอาดพอสมควร) เอาขวดน้ำหอมใส่ในถุงเท้า (กันแตกไปในตัว) ม้วนเข็มขัดยัดใส่ในคอปกของเสื้อเชิ้ต

STEP 6 ม้วน หรือ พับ?

ถ้าเป็นพวกเสื้อยืด เสื้อนอน ให้ม้วนแล้วเอาหนังยางรัดไว้ กันยับและประหยัดพื้นที่ ส่วนพวกเชิ้ตกับกางเกงแสลคให้ไปเรียนวิธีการพับเสื้อพวกนี้ไม่ให้ยับจาก Youtube เอา หรือไม่ก็หาพวกถุงเก็บเสื้อผ้าที่เป็นพลาสติกมาใส่กันยับอีกชั้น

STEP 7 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการจัดกระเป๋าเดินทาง (PACKING ORGANIZER)

ไปซื้อถูกๆตามตลาดนัดได้ พวกถุงซิบทำด้วยผ้าใยสังเคราะห์ขนาดต่างๆ เอามาช่วยแพ๊คพวกกุงเกงลิง ถุงเท้า ถุงมือ เครื่องประดับ ของใช้ในห้องน้ำ เครื่องสำอาง เอกสารสำคัญ อุปกรณ์ไอที ฯลฯ ช่วยให้หาง่าย เป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องเสียเวลางมนาน พวกสบู่เหลว ยาสระผม ครีมบำรุงผิวก็เอาไปขวดหรือซองเล็กๆพอ ซื้อตามเซเว่นมีเยอะ อย่าลืมซื้อพวกถุงซิปล็อคมาห่อพวกน้ำหอม โลชั่น หรือของเหลวที่บรรจุในหีบห่อที่แตกง่าย ลองจิตนาการสภาพขวดน้ำหอมแตกกระจายอยู่กลางกระเป๋า เหอๆๆๆ

STEP 8 ถุงพลาสติกและกระเป๋าพับได้

พกไปหลายๆถุงเลย ไว้ใส่เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว เสื้อผ้าเปียก(เผื่อมีโปรแกรมไปเล่นน้ำ) เอาไว้แพ็คของที่ระลึกซึ่งอาจเป็นอาหารมีกลิ่นขากลับ ใครคิดจะโหลดเหล้าเบียร์ใต้ท้องเครื่องก็เอามัดๆไว้หน่อยกันกระจายเต็มกระเป๋า กระเป๋าพับได้เป็นอีกหนึ่ง item ที่มีประโยชน์ ใช้ใส่ของที่ซื้อมาในระหว่างทริปแล้วยัดไม่ลง อันนี้จะช่วยได้มาก

STEP 9 ขาไปและกลับ จงจัดเต็ม!

เสื้อผ้าหนักๆ ใหญ่ๆ ใส่ไปกลับได้จะดีมาก เช่น กางเกงยีนส์ แจ๊คเก็ตยีนส์ บู้ตส์ครึ่งแข้ง เป็นต้น ต้องถือคติ สวยสะเด็ด หล่อสะดิ้งเวลาขึ้นเครื่อง ชีวิตจะดีขึ้น 34%

ทั้งนี้ทั้งนั้น สำคัญที่สุดคือมีสติในการแพ็คของ จดจำไว้ว่า ไม่ใช่ทุกอย่างในตู้เสื้อผ้าที่จำเป็นในทริปของเรา และอย่าลืมว่าของที่เราใส่ในกระเป๋าน้อยๆใบนั้น มีโอกาสสูญหายและชำรุดเสียหายได้เช่นกัน กรณีเดินทางหลายๆวัน บินหลายๆไฟลท์ หรือจำเป็นต้องโหลดของมีราคาใต้ท้องเครื่อง ขอแนะนำให้ถ่ายรูปของในกระเป๋าไว้ และทำประกันการเดินทางที่คุ้มครองเรื่องกระเป๋าเดินทางให้เรียบร้อยด้วยนะคะ