เที่ยวเกาหลี

ข้อควรรู้ก่อนไปเที่ยวเกาหลีใต้

เกาหลีใต้ ดินแดนแห่งมนต์เสน่ที่ใครหลายคนต่างหลงใหล ด้วยวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ อาหารรสเลิศ หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามหลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้น คนไทยยังสามารถเดินทางไปเที่ยวเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าให้ยุ่งยาก เพียงแค่เตรียมตัวให้พร้อมและทำความเข้าใจกฎระเบียบ มารยาท และข้อห้ามต่างๆ ที่อาจแตกต่างจากประเทศไทย เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวของคุณราบรื่นและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น มีรายละเอียดอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

ต้องขอ K – ETA ก่อนเดินทางไปประเทศเกาหลีใต้

แม้คนไทยสามารถเดินทางไปเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า แต่ยังจำเป็นต้องขอ K-ETA (Korea Electronic Travel Authorization) หรือระบบอนุมัติการเดินทางเข้าสู่เกาหลีใต้ทางออนไลน์อยู่ ซึ่งมีขั้นตอนการของ่ายๆ เพียงทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ

1. เข้าสู่เว็บไซต์ทางการของ K-ETA
2. กรอกข้อมูลหนังสือเดินทาง ข้อมูลส่วนตัว และแผนการเดินทาง
3. อัปโหลดรูปภาพทางการหน้าตรงพื้นหลังสีขาว และเอกสารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น หลักฐานการจองที่พัก
4. ชำระค่าธรรมเนียม 10,000 วอน ต่อคน
5. รอผลการอนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง

หลังได้รับการอนุมัติ K-ETA แล้ว ก็ถึงเวลาเตรียมตัวให้พร้อมกับสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นก่อนไปเที่ยวเกาหลี มีอะไรมาดูกันต่อเลย

ข้อควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้

  • เวลาที่เกาหลีเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง
  • เกาหลีใต้มีฤดูกาล 4 ฤดูที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่
    1. ฤดูร้อน (Summer) อากาศร้อนชื้น มีฝนตกและลมมรสุม ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงต้นเดือนกันยายน อุณหภูมิประมาณ 20 ถึง 30 องศา
    2. ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) อากาศเย็นสบาย ฝนตกน้อย มีใบไม้เปลี่ยนสีที่สวยงาม ช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน อุณหภูมิประมาณ 10 ถึง 20 องศา
    3. ฤดูหนาว (Winter) อากาศหนาวเย็น มีหิมะตก อุณหภูมิต่ำสุด -10 องศา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงอุณหภูมิประมาณ -5 ถึง 0 องศา
    4. ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) เที่ยวเกาหลี ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเย็นสบายกำลังดีและมีดอกไม้หลายชนิดบาน เช่น ดอกซากุระ เริ่มช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิประมาณ 10 ถึง 20 องศา
เที่ยวเกาหลี

ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) ในประเทศเกาหลีใต้

winter in south korea

ฤดูหนาว (Winter) ในประเทศเกาหลีใต้

spring in south korea

ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ในประเทศเกาหลีใต้

  • ระบบไฟฟ้าในเกาหลีใช้ไฟ 220 โวลต์ (เหมือนประเทศไทย) เป็นปลั๊กกลม 2 หรือ 3 ขา (มีสายดิน) หากมีเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น กล้องวิดีโอ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเป่าผม ควรมีปลั๊กหรือ  Adapter ติดตัวไปด้วย
  • บัตรโทรศัพท์มีขายทั่วไป ตามเคาน์เตอร์โรงแรม, ซุปเปอร์มาร์เก็ต ราคา 3,000 / 5,000 และ 10,000 วอน
  • ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเกาหลี หรือ ฮันกึล คนเกาหลีส่วนใหญ่พูดภาษาจีนได้ ส่วนภาษาอังกฤษจะพบได้ตามสถานที่ท่องเที่ยว ป้ายแนะนำสถานที่ต่างๆ มีภาษาอังกฤษเขียนบอกเอาไว้ด้วย บางสถานที่มีป้ายภาษาไทยด้วย

สิ่งที่ห้ามทำในประเทศเกาหลีใต้

กฎและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากเราเดินทางถึงเกาหลีแล้วก็อย่าลืมปฏิบัติตามทั้งสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ โดยสิ่งที่ไม่ควรทำในประเทศเกาหลีมีดังนี้

  • ห้ามแอบถ่ายรูป คนเกาหลีให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคลมาก ดังนั้นการแอบถ่ายรูปบุคคลอื่นในที่สาธารณะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายอย่างมาก ดังนั้นหากเจอหนุ่มหล่อ สาวสวยที่เกาหลี ต้องยั้งใจ ห้ามหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูปกันนะคะ
  • การขึ้นลงบันได และบันไดเลื่อน หากเราไม่ได้เร่งรีบก็ให้ยืนชิดขวาสำหรับบันไดเลื่อน และเดินชิดขวาสำหรับบันไดปกติ เหมือนบ้านเรานั้นเอง
  • การทานอาหาร ในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด หรือคาเฟ่ต่างๆ หลังทานแล้วจำเป็นต้องเก็บภาชนะ และเทขยะทิ้งลงถังขยะได้ และไม่ควรที่จะนำตะเกียบเสียบลงบนถ้วยอาหารเพราะเปรียบเสมือนการไหว้ศพหรือทำพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตาย
  • การใช้งานรถขนส่งสาธารณะไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่และรถไฟต่างๆ ห้ามพูดคุยเสียงดังเด็ดขาด เพราะจะเป็นการรบกวนโชเฟอร์ขับรถ หรือรบกวนคนอื่นบนรถไฟ และถือว่าเป็นการเสียมารยาทเป็นอย่างมากในเกาหลี
train in south korea
  • การเข้าห้องน้ำในเกาหลี ไม่ต้องตกใจหากเห็นฝาชักโครกปิดอยู่ เพราะนั้นถือว่าเป็นสัญญานบ่งบอกว่าชักโครกนั้นสะอาดพร้อมใช้งาน ดังนั้นหากเราทำธุระเสร็จแล้วก็อย่าลืมปิดฝาให้เรียบร้อยด้วยนะคะ
  • การช้อปปิ้ง การต่อราคาในร้านค้าที่มีป้ายราคาบ่งบอกชัดเจนถือเป็นการเสียมารยาทในเกาหลี แต่สำหรับร้านที่ไม่มีป้ายบอกราคานั้นสามารถต่อได้ตามปกติค่ะ
shopping at south korea

การศึกษากฎและธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศที่เรากำลังจะเดินทางไปเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ เราควรปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด เราก็ควรศึกษาไปก่อนล่วงหน้า ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมตัว และข้อควรระวังที่จะทำให้เราเที่ยวได้อย่างสนุกในเกาหลี

เพื่อนๆ ที่กำลังวางแผนจะเดินทางไปเกาหลี ก็อย่าลืมสิ่งสำคัญอย่างประกันการเดินทาง และ Allianz Travel ขอนำแนะนำประกันการเดินทาง Dance Moves ที่จะช่วยให้ทริปการเดินทางของคุณราบรื่น ไม่มีสะดุดกับความคุ้มครองเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยขณะเดินทาง เที่ยวบินล่าช้า และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ช่วยให้คุณทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดทริปได้อย่างอุ่นใจ ไร้กังวล*

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

เลือกแผนประกันเดินทางที่ใช่สำหรับคุณ ประกันการเดินทาง Dance Moves จาก Allianz Travel

ขั้นตอนและวิธีการทำใบขับขี่สากล

การทำใบขับขี่สากล ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ (IDP)

หลายคนมีแผนที่จะขับรถเที่ยวสำหรับทริปในต่างประเทศ การขับรถเที่ยวเป็นเรื่องน่าสนุก เพราะมันช่วยให้คุณมีอิสระในการสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ตามต้องการ คุณอาจได้เจอกับสถานที่ใหม่ๆ ที่เข้าถึงยากหากต้องเดินทางด้วยการขนส่งสาธารณะ และคุณอาจจะได้พบกับการผจญภัยเล็กๆ ที่รอคุณอยู่ข้างหน้า แต่ก่อนที่คุณจะออกเดินทาง คุณรู้ไหมว่าคุณต้องมี ใบขับขี่สากล หรือ ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ หากต้องขับรถในบางประเทศ Allianz Travel จะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับใบขับขี่สากล หรือ ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ ขั้นตอนการทำ การเตรียมเอกสาร และสถานที่ทำใบขับขี่สากล ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากเลยค่ะ 🙂

ทำความรู้จัก ใบขับขี่สากล หรือ ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ (IDP)

ใบขับขี่สากล หรือ ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ (IDP)

ใบขับขี่สากล หรือชื่อทางการคือ ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ (International Driving Permit หรือ IDP) เป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อให้ผู้ถือสามารถขับขี่ได้ในประเทศ หรือดินแดนที่ไม่ใช่ประเทศบ้านเกิด ผู้ที่ขับขี่รถจะต้องแสดงใบขับขี่สากลพร้อมกับใบขับขี่จากประเทศบ้านเกิดต่อเจ้าหน้าที่ในแต่ละประเทศ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถขับรถออกนอกประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย

ใบขับขี่สากล ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามอนุสัญญา 2 ฉบับ ได้แก่

1. อนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ นครเจนีวา ค.ศ. 1949 หรือ อนุสัญญาเจนีวา 1949

สามารถนำไปใช้ได้ใน 102 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น ใบขับขี่สากลภายใต้อนุสัญญานี้จะมีอายุการใช้งาน 1 ปี

2. อนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ กรุงเวียนนา ค.ศ. 1968 หรือ อนุสัญญาเวียนนา 1968

สามารถนำไปใช้ได้ใน 86 ประเทศ เช่น บาห์เรน บราซิล เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น ซึ่งบางประเทศเป็นประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาเจนีวา ทำให้ใบขับขี่สากลภายใต้อนุสัญญานี้สามารถเป็นตัวเลือกให้กับคนที่กำลังจะเดินทางไปในประเทศที่อนุสัญญาเจนีวาอาจไม่ครอบคลุม มีอายุ 3 ปี นับแต่วันออกใบขับขี่สากล หรือเท่ากับอายุของใบขับขี่ภายในประเทศที่ผู้ถือมีอยู่

Road Trip in Switzerland

หมายเหตุ

  • ประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เช่น ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร อิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ตุรกี สวีเดน รวมถึงประเทศไทย สามารถใช้ใบขับขี่สากลที่ออกตามอนุสัญญาเวียนนา 1968 เพียงฉบับเดียวได้
  • ผู้ที่ต้องการขอรับใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ สามารถแจ้งรายชื่อประเทศที่ต้องการนำใบอนุญาตขับรถไปใช้ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบความเกี่ยวข้องในการร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญา และออกใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศให้ได้อย่างถูกต้องตามแบบที่กำหนด

หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอรับ ใบขับขี่สากล

1. หนังสือเดินทาง (ฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
2. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพ (ฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
4. รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว 2 รูป ไม่เคลือบมัน (รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
5. สำเนาหลักฐานการแก้ไขชื่อ – สกุล พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
6. สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบหย่าพร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
7. ค่าธรรมเนียมทำใบขับขี่สากล 505 บาท

กรณีไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทนได้ โดยเตรียมเอกสารเพิ่มเติม คือ

  • หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง โดยระบุประเทศที่จะเดินทาง พร้อมติดอากรแสตมป์
  • บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  • เอกสารของผู้มอบอำนาจที่จะใช้ในการขอรับใบขับขี่สากล (สำเนาพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)

ขั้นตอนการทำ ใบขับขี่สากล

1. ลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue บน App Store และ Play Store หรือเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/login ตามขั้นตอนดังนี้

  • กดปุ่มลงทะเบียน (Register) กรอกข้อมูลส่วนตัวและกำหนดรหัสผ่าน หากเคยลงทะเบียนไว้แล้ว สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเลขบัตรประชาชนได้เลย
  • เมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้ว เลือกสำนักงานที่ต้องการเข้าไปทำใบขับขี่
  • หัวข้อประเภทบริการ เลือกไปที่ “งานใบอนุญาต”
  • หัวข้อประเภทใบอนุญาตขับรถ เลือกไปที่ “ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล”
  • หัวข้อประเภทเข้ารับบริการ เลือกไปที่ “ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ”
  • หัวข้อประเภทยานพาหนะ ให้เลือกยานพาหนะที่เราจะใช้
  • หัวข้อประเภทงาน เลือกไปที่ “ใบอนุญาตส่วนบุคคล: ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ”
  • เลือกวันและเวลาที่ต้องการใช้บริการ โดยวันที่ว่างจะขึ้นเป็นสีเขียว ส่วนวันที่คิวเต็มนั้นจะขึ้นคำว่า “เต็ม” เป็นตัวหนังสือสีแดง
  • หลังจากเลือกวันและเวลาที่ต้องการเข้าใช้บริการเรียบร้อยแล้ว ให้กด “ยืนยันการจอง” ถือเป็นอันเสร็จสิ้นการจองคิว

2. เตรียมเอกสารต่าง ๆ ตามรายการ และไปติดต่อขอรับบริการได้ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 และสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ เปิดบริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.1584 
3. ยื่นคำขอ ตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติเบื้องต้น > จัดทำคำขอ > ผู้ขอลงนามคำขอ
4. เมื่อตรวจสอบเอกสารผ่าน > ชำระเงิน > ออกใบเสร็จ > จัดทำใบอนุญาต > นายทะเบียนลงนาม > จ่ายใบอนุญาตขับรถ

Road Trip Travel : ทริปขับรถท่องเที่ยวต่างประเทศ

หลังจากที่คุณได้รับ ใบขับขี่สากล เพื่อนำไปใช้ขับขี่ระหว่างทริปท่องเที่ยวต่างประเทศของคุณแล้ว คุณก็ควรศึกษาและทำความเข้าใจกฎจราจรของประเทศนั้น ๆ และศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทางเสมอ เพื่อให้คุณขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ป้องกันปัญหาอื่นที่อาจตามมากวนใจคุณในอนาคต นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่คุณควรมีติดตัวไว้ก่อนออกเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ก็คือ ประกันภัยการเดินทาง ที่ช่วยให้คุณเดินทางได้อย่างอุ่นใจ ไร้กังวล เพียงจ่ายเงินไม่กี่บาท คุณก็จะได้ความคุ้มครองมากมายที่ครอบคลุมเกือบทุกเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเดินทาง* เช่น ความเจ็บป่วย การเกิดอุบัติเหตุ กระเป๋าหาย ไฟลท์ดีเลย์ เป็นต้น Allianz Travel ขอแนะนำ ประกันเดินทางต่างประเทศ Dance Moves ที่จะช่วยให้ทริป การเดินทางของคุณราบรื่น ไม่มีสะดุด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคุ้มครองได้ ที่นี่

*เงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้นเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง จำนวนความคุ้มครองและผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับแผนประกันภัย

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานสวัสดิภาพการขนส่งทางบก (สนภ.) กรมการขนส่งทางบก

เลือกแผนประกันเดินทางที่ใช่สำหรับคุณ ประกันการเดินทาง Dance Moves จาก Allianz Travel

ประกันเดินทางต่างประเทศเปรียบเทียบ แผนรายเที่ยว vs แผนรายปี

ประกันเดินทางต่างประเทศเปรียบเทียบ แผนรายเที่ยว vs แผนรายปี แผนไหนเหมาะกับเรา?

การเดินทางท่องโลกไปยังประเทศที่คุณไม่รู้จัก หรือไปประเทศที่คุณชื่นชอบวัฒนธรรม ธรรมชาติ หรือสิ่งที่แตกต่างจากประเทศไทย ถือเป็นการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยประสบการณ์อันน่าจดจำและความทรงจำอันล้ำค่า อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คุณตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบิน และจองที่พัก เพื่อเดินทางไปยังประเทศในฝันของคุณแล้ว สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้คุณหมดกังวลว่าทริปวันหยุดของคุณจะไม่สะดุดระหว่างการเดินทางหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันใดๆ คุณจะมีตัวช่วยให้คุณได้อุ่นใจเสมอ วันนี้เราได้นำข้อมูล ประกันเดินทางต่างประเทศเปรียบเทียบ แผนรายเที่ยว vs แผนรายปี มาให้เพื่อนๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันการเดินทางที่เหมาะสมกับการเดินทางของเรามากที่สุด

และไม่ว่าคุณจะชอบเดินทางไปต่างประเทศแบบทริปยาว ๆ ปีละครั้ง หรือทริปสั้น ๆ ปีละ 2-3 ครั้ง Allianz Travel มีแผนประกันภัยการเดินทางสำหรับนักเดินทางทุกประเภท ทั้งแผนแบบรายเที่ยว (Single Plan) ที่ครอบคลุมการเดินทางเพียงทริปเดียว และแผนแบบรายปี (Annual Plan) ที่คุ้มครองการเดินทางหลายเที่ยวในระยะเวลา 365 วัน การที่จะเลือกซื้อแผนไหนดี ก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การเดินทางและแผนท่องเที่ยววันหยุดของคุณค่ะ

ทำความรู้จักประกันภัยการเดินทางแผนรายเที่ยว

ประกันภัยการเดินทางแผนรายเที่ยวจะให้ความคุ้มครองทริปวันหยุดของคุณจากประเทศไทยไปยังประเทศจุดหมายปลายทาง และสิ้นสุดเมื่อคุณกลับถึงประเทศไทย คุณควรทำประกันภัยการเดินทางแบบรายเที่ยวทันที่ที่คุณจองทริปวันหยุดพักผ่อนของคุณ เพราะประกันภัยการเดินทางมีความคุ้มครองครอบคลุมการยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางภายใน 30 วันก่อนวันที่คุณจะเริ่มการเดินทาง หากเกิดเหตุการณ์ที่คุณไม่ได้คาดหมายมาก่อน หรืออยู่นอกเนือกจากการควบคุมของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่

ถ้าคุณซื้อแผนรายเที่ยวสำหรับทริปเดียว ราคาจะถูกกว่าการซื้อแผนรายปี แต่ถ้าคุณมีแผนที่จะเดินทางสัก 2-3 ทริปในแต่ละปีเราแนะนำให้คุณซื้อแผนรายปีจะคุ้มกว่า

ทำไมต้องซื้อประกันภัยการเดินทางแผนรายปี

ประกันภัยการเดินทางแผนรายปีเปรียบเสมือนเพื่อนร่วมทางที่อยู่เคียงข้างคุณตลอดทั้งปี ช่วยปกป้องคุณจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นระหว่างทริป เช่น การยกเลิกการเดินทาง เหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ และสัมภาระสูญหาย เป็นต้น ไม่ว่าคุณจะเดินทางกี่ครั้งก็ตาม คุณจะได้รับความคุ้มครองทุกทริปในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีนับจากวันที่กรมธรรม์เริ่มมีผลบังคับใช้ คุณเดินทางได้มากครั้งเท่าที่คุณต้องการ และแต่ละครั้งก็ได้สูงสุดถึงจำนวนวันที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่

เปรียบเทียบความแตกต่างประกันภัยการเดินทางแผนรายเที่ยว และแผนรายปี

รายละเอียดแผนรายเที่ยวแผนรายปี
แผนและความคุ้มครองเลือกประเภทแผนและความคุ้มครองตามความต้องการของแต่ละทริปได้ เช่น เดินทางเฉพาะในเอเชีย หรือเดินทางทั่วโลก แผนและความคุ้มครองมาพร้อมกับชุดสิทธิประโยชน์มาตรฐานซึ่งอาจไม่เหมาะสมสำหรับทุกการเดินทาง
ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 1-180 วัน (ขึ้นอยู่กับจำนวนวันเดินทางของแต่ละทริป)คุ้มครองต่อเนื่องสูงสุง 365 วัน
ค่าเบี้ยประกันเบี้ยประกันคิดตามจำนวนวันเดินทางเบี้ยประกันเป็นรายปี คุ้มค่าสำหรับผู้ที่เดินทางบ่อย
ความยุ่งยากต้องซื้อทุกครั้งก่อนเดินทางซื้อครั้งเดียว เดินทางกี่ครั้งก็ได้คุ้มครองตลอดทั้งปี
ความคุ้มค่าเหมาะกับผู้ที่เดินทางไม่กี่วัน หรือเดินทางแค่ปีละครั้งเหมาะกับผู้ที่เดินทางบ่อย
วีซ่าเชงเก้นใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าได้ สำหรับแผนที่คุ้มครองทั่วโลก*ใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าได้ สำหรับแผนที่คุ้มครองทั่วโลก*

ตัวอย่างการเลือกซื้อ ประกันเดินทางต่างประเทศเปรียบเทียบ แผนรายเที่ยว vs แผนรายปี

ตัวอย่าง

คุณ Alliz มีแผนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ในเดือนเมษายน 2024 เป็นเวลา 7 วัน, เดินทางไปประเทศอังกฤษ ในเดือนมิถุนายน 2024 เป็นเวลา 20 วัน, และเดินทางไปประเทศฟินแลนด์ ในเดือนธันวาคม 2024 เป็นเวลา 20 วัน และทุกทริปต้องการความคุ้มครองแบบครบถ้วนสูงสุด

จากตัวอย่าง หากลูกค้าซื้อประกันการเดินแผนรายเที่ยว และรายปี รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องชำระมีดังนี้

แผนรายเที่ยว

คุณ Alliz ต้องทำการซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศ แผนรายเที่ยว ทุกครั้งที่ออกเดินทาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ทริปญี่ปุ่น 7 วัน
    – จำนวนผู้เดินทาง 1 คน
    – ซื้อประกันการเดินทางสำหรับเดินทางในเอเชีย แผนรายเที่ยว แผน Samba
    – ราคา 940 บาท
  2. ทริปอังกฤษ 20 วัน
    – จำนวนผู้เดินทาง 1 คน
    – ซื้อประกันการเดินทางสำหรับเดินทางทั่วโลก แผนรายเที่ยว แผน Tango
    – ราคา 2,920 บาท
  3. ทริปฟินแลนด์ 20 วัน
    – จำนวนผู้เดินทาง 1 คน
    – ซื้อประกันการเดินทางสำหรับเดินทางทั่วโลก แผนรายเที่ยว แผน Tango
    – ราคา 2,920 บาท

ราคารวมที่คุณ Alliz ต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันการเดินทาง แผนรายเที่ยว ในปี 2024
= 940+2,920+2,920 = 6,780 บาท

แผนรายปี

คุณ Alliz สามารถทำการซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศ แผนรายปี เพียงครั้งเดียวในทริปแรกที่ออกเดินทาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ระยะเวลาของทริปการเดินทางของคุณ Alliz ในแต่ละทริปไม่เกิน 31 วัน (ทริปญี่ปุ่น 7 วัน, ทริปอังกฤษ 20 วัน, และทริปฟินแลนด์ 20 วัน) ต้องการความคุ้มครองแบบครบถ้วนสูงสุด ดังนั้นคุณ Alliz สามารถซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศ แผนรายปี แผน Tango ระยะเวลาการเดินทางในแต่ละทริปภายใน 1 ปี ไม่เกิน 31 วันต่อทริปหรือต่อครั้งที่เดินทางได้ โดยราคารวมที่คุณ Alliz ต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันการเดินทาง แผนรายปี ในปี 2024
= 5,620 บาท

ซึ่งประกันการเดินทางต่างประเทศ แผนรายปี ให้ความคุ้มครองการเดินทางทั่วโลก**

สรุป

จากตัวอย่างด้านบนคุณ Alliz สามารถเลือกซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศ แผนรายปี แผน Tango ระยะเวลาการเดินทางต่อทริปหรือต่อครั้งไม่เกิน 31 วัน ในราคา 5,620 บาท จะมีความเหมาะสมและคุ้มค่ามากกว่าซื้อประกันการเดินทาง แผนรายเที่ยว เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประกันการเดินทาง แผนรายเที่ยว ที่มีค่าเบี้ยประกันการเดินทางรวมทุกทริปอยู่ที่ 6,780 บาท คุณ Alliz สามารถประหยัดเงินค่าเบี้ยประกันการเดินทางสำหรับปี 2024 ไปได้ถึง 1,160 บาท

หากเพื่อนๆ ท่านไหนมีแผนการเดินทางคล้ายๆ กับคุณ Alliz หรือมีการเดินทางบ่อย การซื้อประกันการเดินทาง แผนรายปี อาจจะเหมาะสมกับการเดินทางของเพื่อน ๆ มากกว่าการซื้อประกันการเดินทาง แผนรายเที่ยว แต่ถ้าเพื่อน ๆ เดินทางไม่บ่อย ประกันการเดินทางแผนรายเที่ยวก็อาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเพื่อน ๆ ค่ะ

ถ้าคุณคิดว่าปีนี้จะมีทริปเที่ยวต่างประเทศเพียงครั้งเดียว ประกันภัยการเดินทางแผนรายเที่ยวคือตัวเลือกที่ดีที่สุดของคุณ แต่ถ้าคุณวางแผนเที่ยวต่างประเทศหลายทริปใน 1 ปี การซื้อประกันภัยการเดินทางแบบรายปีก็คุ้มมากกว่า แต่โดยรวมแล้ว การทำประกันภัยการเดินทางทุกครั้งที่ไปเที่ยวต่างประเทศก็เป็นความคิดที่ดีเสมอ เพราะจะช่วยให้คุณเดินทางได้อย่างอุ่นใจ ไร้กังวล เพียงจ่ายเงินไม่กี่บาท คุณก็จะได้ความคุ้มครองมากมายที่ครอบคลุมเกือบทุกเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเดินทาง*** เช่น ความเจ็บป่วย การเกิดอุบัติเหตุ กระเป๋าหาย ไฟลท์ดีเลย์ เป็นต้น Allianz Travel ขอแนะนำ ประกันการเดินทางต่างประเทศ Dance Moves ที่จะช่วยให้ทริป การเดินทางของคุณราบรื่น ไม่มีสะดุด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคุ้มครองได้ ที่นี่

*หากวีซ่าไม่ผ่าน และยังไม่ถึงวันเริ่มความคุ้มครองตามกรมธรรม์ สามารถใช้เอกสารการปฏิเสธวีซ่าเป็นหลักฐานในการขอคืนเงินค่าเบี้ยประกันได้เต็มจำนวน
**ยกเว้นประเทศที่ไม่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์สำหรับเดินทางทั่วโลกได้แก่ประเทศเนปาล และประเทศที่ถูกระบุอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (Sanction Countries) รวมถึงประเทศดังต่อไปนี้ อัฟกานิสสถาน, แอลจีเรีย, บุรุนดี, คองโก, คิวบา, เอริเทรีย, กินี, อิรัก, คอซอวอ, ไลบีเรีย, ลิเบีย, มอริเตเนีย, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, เกาหลีเหนือ, เซอร์เบีย,​โซมาเลีย, ซูดาน, ซีเรีย,​ และเยเมน
***เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

เลือกแผนประกันเดินทางที่ใช่สำหรับคุณ ประกันการเดินทาง Dance Moves จาก Allianz Travel

วิธีขอวีซ่าเชงเก้น ไปเที่ยวยุโรป

วิธีขอวีซ่าเชงเก้น ไปเที่ยวยุโรป

หลายคนกำลังเตรียมตัวออกไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งการเดินทางไปประเทศแถบยุโรปก็เป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักท่องเที่ยว เพราะมีทั้งธรรมขาติ และสถาปัตยกรรมที่งดงามที่ต้องมีใครที่เคยฝันอยากจะไปเที่ยวดูสักครั้ง ไม่ว่าจะเป็นออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี และอีกมากมาย และ “วีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa)” ก็คือใบเบิกทางสู่หลากประเทศที่ขอแค่รอบเดียวก็เที่ยวได้หลายประเทศในวีซ่าเดียว วันนี้ Allianz Travel มีรายละเอียด วิธีขอวีซ่าเชงเก้น มาฝากทุกคนค่ะ

วีซ่าเชงเก้น ถือกำเนิดมาจากข้อตกลงระหว่างประเทศในทวีปยุโรปที่อนุญาตให้พลเมืองของประเทศสมาชิกสามารถเดินทางระหว่างกันได้โดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ซึ่งรวมไปถึงการอนุญาตให้เดินทางเป็นการชั่วคราวให้กับผู้ที่ถือวีซ่าเชงเก้นด้วย โดยปัจจุบันประเทศที่อยู่ในข้อตกลงเชงเก้นนั้นมี 27 ประเทศ ซึ่งมีทั้งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) และประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก กลุ่มประเทศเชงเก้นประกอบไปด้วย Austria (ออสเตรีย), Belgium (เบลเยี่ยม), Croatia (โครเอเชีย), Czech Republic (สาธารณรัฐเช็ก), Denmark (เดนมาร์ก), Estonia (เอสโตเนีย), Finland (ฟินแลนด์), France (ฝรั่งเศส), Germany (เยอรมัน), Greece (กรีซ), Hungary (ฮังการี), Iceland (ไอซ์แลนด์), Italy (อิตาลี), Latvia (ลัตเวีย), Liechtenstein (ลิกเตนสไตน์), Lithuania (ลิทัวเนีย), Luxembourg (ลักเซมเบอร์ก), Malta (มอลตา), Netherlands (เนเธอร์แลนด์), Norway (นอร์เวย์), Poland (โปแลนด์), Portugal (โปรตุเกส), Slovakia (สโลวาเกีย), Slovenia (สโลวีเนีย), Spain (สเปน), Sweden (สวีเดน), Switzerland (สวิตเซอร์แลนด์)

สิ่งสำคัญที่ควรทราบอย่างหนึ่งคือ วีซ่าเชงเก้นไม่สามารถใช้เข้าประเทศในกลุ่มสหราชอาณาจักร ซึ่งได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์ได้

ขั้นตอนการขอวีซ่าเชงเก้น

ก่อนดำเนินการยื่นคำร้อง

  1. ก่อนทำการยื่นคำร้องขอวีซ่า คุณต้องมั่นใจแล้วว่า คุณเลือกประเทศที่ถูกต้องในการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีวิธีและช่องทางการยื่นขอวีซ่าที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย และการยื่นขอวีซ่าเชงเก้นผิดประเทศตามที่เราอธิบายไว้ข้างต้น สถานทูตก็มีสิทธิ์ปฏิเสธการออกวีซ่าให้คุณได้ โดยกฏของการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น (Schengen rules) มีดังต่อไปนี้

1.1. หากเดินทางท่องเที่ยวเพียงประเทศเดียว ให้ยื่นขอวีซ่าเชงเก้นไปยังสถานทูต / สถานกงสุล / ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าของประเทศเชงเก้นนั้น

1.2 หากเดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเชงเก้นมากกว่าสองประเทศ ให้ยื่นใบคำขอวีซ่าเชงเก้นดังนี้ :
– กรณีจำนวนวันที่จะพำนักในแต่ละประเทศ – ไม่เท่ากัน ให้ยื่นขอวีซ่าเชงเก้นไปยังสถานทูต / สถานกงสุล / ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าของประเทศเชงเก้นที่จะเข้าไปพำนักนานที่สุด
– กรณีจำนวนวันที่จะพำนักในแต่ละประเทศ – นานเท่ากัน ให้ยื่นขอวีซ่าเชงเก้นไปยังสถานทูต / สถานกงสุล / ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าของประเทศเชงเก้นที่จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรก

2. เมื่อได้ประเทศที่ต้องยื่นขอวีซ่าเชงเก้นแล้ว ก็ได้เวลาหาข้อมูลว่าประเทศที่คุณต้องขอวีซ่าเชงเก้นนั้น เขาใช้วิธีการใดในการยื่นขอวีซ่า ซึ่งโดยทั่วไปแต่ละประเทศจะมีช่องทางใดช่องทางหนึ่งในการให้บริการดังนี้

  • ยื่นคำร้องขอวีซ่าเชงเก้นผ่านสถานทูตโดยตรง ได้แก่ ประเทศกรีซ, ฮังการี, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ลักเซ็มเบิร์ก, โปแลนด์, สโลวาเนีย
  • ยื่นคำร้องผ่านศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า VFS Global

ที่อยู่ : จามจุรีสแควร์ ชั้น 4 ห้อง 404-405 ถ.พญาไท ปทุมวัน กทม. 10330

เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.00

โทร : 02-118-7015

ให้บริการยื่นวีซ่าสำหรับประเทศ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, เยอรมัน, ไอซ์แลนด์, อิตาลี, ลิคเทนสไตน์, มอลต้า, เนเธอร์แลนด์, สโลวีเนีย, สวีเดน และ สวิตเซอร์แลนด์

  • ยื่นคำร้องผ่านศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า TLS Contact

ที่อยู่ : สาทรซิตี้ทาวเวอร์ 175 ชั้นที่ 12 ถ.สาทรใต้ ทุ่งมหาเมฆ สาทร กทม. 10120

เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30

โทร : 02-838-6688

ให้บริการยื่นวีซ่าสำหรับประเทศ ฝรั่งเศส และ โปรตุเกส

  • ยื่นคำร้องผ่านศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า BLS International

ที่อยู่ : 399 อาคารอินเตอร์เชนจ์ชั้น B2 ห้อง A/1 ถ.สุขุมวิท คลองเตยเหนือ วัฒนา กทม. 10110
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.00
โทร : 02-258-3524
ให้บริการยื่นวีซ่าสำหรับประเทศ สเปน

3. การขอวีซ่าเชงเก้นทุกประเทศจะต้องมีการทำประกันการเดินทาง ที่มีวงเงินประกันไม่น้อยกว่า 30,000 ยูโรหรือ 1,500,000 บาท และแต่ละประเทศยังมีการกำหนดบริษัทประกันภัยที่ได้รับการยอมรับด้วย ซึ่งคุณจำเป็นต้องตรวจสอบรายชื่อและใช้บริการกับบริษัทประกันภัยที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น

4. วีซ่าเชงเก้นสามารถยื่นคำร้องขอล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนการเดินทาง

5. แต่ละช่องทางการยื่นคำร้องขอวีซ่าจะมีขั้นตอนอธิบายบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแต่ละประเทศ คุณสามารถศึกษารายละเอียดทั้งหมดได้ด้วยตนเอง และโดยส่วนใหญ่จะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันคือ จองคิว > กรอกเอกสารและจัดเตรียมหลักฐาน > ยื่นเอกสารและเก็บข้อมูลชีวภาพ > เรียกสัมภาษณ์ (ถ้ามี) > รอฟังผลการพิจารณา > รับหนังสือเดินทางคืนพร้อมผลการขอวีซ่า

เมื่อดำเนินการยื่นคำร้อง

1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม Schengen Visa Application หรือกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ) โดยคุณจำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน

แบบฟอร์มจะมีรูปแบบเหมือนกันทุกประเทศ โดยให้กรอกให้ครบถ้วน อย่าเว้นว่างช่องคำถามใด หากคำถามไม่ตรงกับเคสของเราให้กรอกว่า NA (No Answer) แทน หลังจากที่กรอกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้พิมพ์แบบฟอร์มออกมา 2 ชุด และอย่าลืมเซ็นชื่อให้เรียบร้อยทั้ง 2 ชุด

2. จองคิวนัดหมายกับสถานทูต (ถ้ามี) หรือศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า ซึ่งตัวแทนทั้งหมดจะใช้วิธีการจองคิวนัดหมายผ่านระบบออนไลน์ตามเวลาที่กำหนดอยู่แล้ว โดยศูนย์รับคำร้องข้อวีซ่าจะมีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมที่คุณสามารถเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอาทิเช่น บริการจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์, บริการแจ้งผลการขอวีซ่าผ่าน SMS, บริการถ่ายรูป / ถ่ายเอกสาร เป็นต้น

3. เตรียมตัวเดินทางไปศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าหรือสถานทูตด้วยตนเอง และไม่สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปแทนได้ โดยคุณต้องถึงก่อนเวลานัดหมายอย่างน้อย 15 นาทีพร้อมเอกสารทั้งหมดที่จำเป็นทั้งฉบับจริงและสำเนา และหนังสือเดินทางที่ต้องมีหน้าว่างอย่างน้อย 2 หน้า และมีอายุคงเหลือมากกว่า 3 เดือนนับจากวันที่เดินทางออกจากเขตประเทศเชงเก้น

4. ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าหรือสถานทูตจะเก็บข้อมูลทางชีวภาพของคุณได้แก่ลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว และถ่ายภาพเต็มหน้าของคุณตามข้อกำหนดของวีซ่าเชงเก้น โดยต้องเป็นภาพหน้าตรง พื้นหลังขาว ไม่มีแสงเงา ไม่สวมอุปกรณ์คลุมศีรษะแต่เหตุผลทางศาสนาหรือทางการแพทย์ (สวมใส่แว่นสายตาได้)

5. สำหรับการยื่นคำร้องขอวีซ่าเชงเก้นนั้นอาจมีการเรียกสัมภาษณ์คุณด้วย แต่โดยส่วนใหญ่การยื่นคำร้องกับศูนย์รับคำร้องขอวีซ่านั้นจะไม่มีการสัมภาษณ์ ทั้งนี้สถานทูตอาจจะเรียกสัมภาษณ์คุณในระหว่างการพิจารณา ดังนั้นเตรียมตัวไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

6. ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าหรือสถานทูตรับเอกสารและเก็บข้อมูลชีวภาพเสร็จสิ้น (รวมทั้งการเรียกสัมภาษณ์) การยื่นขอวีซ่าเชงเก้นก็เป็นอันเรียบร้อย โดยปกติแล้วคุณจะทราบผลภายใน 15 วันทำการนับตั้งแต่วันยื่นเอกสาร และคุณสามารถรับเอกสารและหนังสือเดินทางคืนหลังรับทราบผลแล้วได้ที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า หรือบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)

เอกสารการขอวีซ่าเชงเก้น

หลักฐานสำคัญ

  1. เอกสารคำร้องขอ – เอกสารที่คุณต้องพิมพ์หรือกรอกเรียบร้อยแล้ว
  2. หนังสือเดินทาง – ต้องเป็นหนังสือเดินทางฉบับล่าสุด มีอายุคงเหลือมากกว่า 3 เดือนนับจากวันที่เดินทางออกจากเขตประเทศเชงเก้น และมีหน้าว่างอย่างน้อย 2 หน้า กรณีที่มีหนังสือเดินทางเล่มก่อนหน้าให้นำไปด้วยทั้งหมด และถ่ายสำเนาหน้าแรกพร้อมกับหน้าที่เคยได้วีซ่า/เดินทางไปประเทศอื่นด้วย
  3. สำเนาเอกสารแสดงตัว – ได้แก่สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาอื่น ๆ ถ้ามี อาทิเช่น สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนหย่า สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล เป็นต้น (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
  4. รูปถ่ายหน้าตรง – ต้องใช้รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ โดยไม่ยิ้ม และไม่มีเส้นผมหรืออุปกรณ์ใด ๆ บดบังใบหน้าและดวงตา (ยกเว้นแว่นสายตา) โดยต้องเป็นรูปที่ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ทั้งนี้เราขอแนะนำให้คุณตรวจสอบเงื่อนไขการถ่ายภาพโดยละเอียด เนื่องจากบางประเทศมีกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่าปกติ
  5. ประกันการเดินทาง – เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันการประกันภัยระหว่างเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยต้องมีวงเงินประกันขั้นต่ำ 1,500,000 บาท (30,000 ยูโร) และต้องทำกับบริษัทประกันภัยที่สถานทูตให้การรับรองด้วย
  1. ใบยืนยันการจองตั๋วเครื่องบิน – ต้องเป็นตั๋วเครื่องบินที่เดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศสมาชิกเชงเก้น และเดินทางกลับถึงประเทศไทยภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น ค้นหาและจองตั๋วเครื่องบินไปยุโรป
  2. ใบยืนยันการจองโรงแรมที่พัก – ต้องเป็นโรงแรมภายในประเทศสมาชิกเชงเก้น และมีการเข้าพักในช่วงเวลาท่องเที่ยวที่ระบุไว้เท่านั้น ค้นหาและจองโรงแรมที่พักในยุโรป
  3. ใบยืนยันการจองตั๋วรถไฟ/รถเช่า (ถ้ามี) – เนื่องจากต้องใช้เป็นหลักฐานยืนยันการเดินทางท่องเที่ยวในยุโรปที่ใช้ระบบรถไฟเป็นหลัก หากไม่มีต้องอธิบายแผนการเดินทางเป็นลายลักษณ์อักษรได้ว่าคุณวางแผนการเดินทางอย่างไร ค้นหาและจองรถเช่าในยุโรป

หลักฐานสำคัญ กรณีมีรายได้เป็นของตนเอง

1. เอกสารรับรองการทำงาน

กรณีเป็นพนักงาน: ต้องใช้หนังสือรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ โดยต้องมีข้อมูลชื่อองค์กรที่ทำงาน ตำแหน่งงาน เงินเดือน วันเริ่มงาน และควรมีการระบุจุดหมายปลายทาง ช่วงวันเดินทาง และวันที่จะกลับถึงประเทศไทยอย่างชัดเจน พร้อมลงนามและประทับตรา

กรณีเป็นเจ้าของกิจการ: ต้องใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมทะเบียนการค้า หรือใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ และเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องและมีชื่อของคุณเป็นเจ้าของกิจการ

2. รายการเดินบัญชีเงินฝาก – สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากที่ปรับรายการเดินบัญชีถึงปัจจุบันถึงย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และควรมีเงินฝากที่เพียงพอต่อการแสดงให้เห็นว่าสามารถพำนักอยู่ในยุโรปได้อย่างไม่มีปัญหา (แนะนำว่าควรแสดงเงินฝากเกิน 50,000 บาทขึ้นไป) หรือขอรายการเดินบัญชีที่ได้รับตราประทับจากธนาคาร หรือขอเอกสารแสดงข้อมูลทางบัญชีที่การันตีเงินฝากของคุณเป็นภาษาอังกฤษก็ได้

3. สลิปเงินเดือน – กรณีมีรายได้ประจำ ให้แนบสลิปย้อนหลัง 6 เดือน โดยยอดเงินสุทธิในสลิปจะต้องสอดคล้องกับรายการเดินบัญชีเงินฝากด้วย

หลักฐานสำคัญ กรณีไม่มีรายได้เป็นของตนเอง

  1. หลักฐานแสดงรายได้ของคู่สมรส – กรณีเป็นคู่สมรสที่มีการจดทะเบียนกันอย่างถูกต้อง และต้องมีสำเนาเอกสารยืนยัน และถ้าคู่สมรสไม่ได้เดินทางไปด้วย ต้องมีสำเนาเอกสารแสดงตัวของคู่สมรสทั้งหมดแนบมาด้วย หรือถ้าไม่ได้จดทะเบียน ต้องมีหนังสือยืนยันการสมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนและลงชื่อรับรองทั้ง 2 ฝ่าย
  2. หลักฐานแสดงรายได้ของญาติ – กรณีเดินทางกับญาติพี่น้องสามารถใช้ข้อมูลของญาติที่ร่วมเดินทางไปด้วยพร้อมหนังสือรับรองความเป็นญาติ หรือถ้าญาติเป็นเจ้าของกิจการหรือบุคคลที่รายได้แต่ไม่ได้เดินทางไปด้วย ก็สามารถใช้อ้างอิงแทนกันได้ ทั้งนี้ยอมรับเฉพาะญาติที่เป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง สามี หรือภรรยาเท่านั้น
  3. สูติบัตรและทะเบียนบ้าน – กรณีผู้เดินทางเป็นเด็กที่มีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ต้องมีหลักฐานแสดงถึงความสัมพันธ์ของพ่อและแม่ที่ร่วมเดินทางไปด้วย โดยใช้สูติบัตรร่วมกับทะเบียนบ้านที่อ้างอิงถึงชื่อบิดามารดา
  4. จดหมายยินยอมจากผู้ปกครอง – กรณีผู้เดินทางเป็นเด็กอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ และไม่ได้เดินทางพร้อมบิดามารดาร่วมกัน ผู้ปกครองที่เป็นบิดาหรือมารดาที่ไม่ได้ร่วมไปด้วยทั้งหมดต้องลงชื่อในจดหมายยินยอมที่ออกโดยที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต
  5. เอกสารรับรองการศึกษา – กรณีเป็นนักเรียน/นักศึกษา ต้องใช้หนังสือรับรองจากสถานศึกษาที่สังกัดอยู่เป็นภาษาอังกฤษ

หลักฐานอื่น ๆ

  1. แผนการเดินทาง – แสดงแผนการเดินทางในช่วงที่อยู่ในประเทศอังกฤษเพื่อให้ทราบว่าในแต่ละวันจะเดินทางไปเที่ยวเมืองอะไร สถานที่ท่องเที่ยวไหน พักที่ใดบ้าง โดยแผนทั้งหมดต้องเป็นภาษาอังกฤษ
  2. ใบปะหน้า – เขียนใบปะหน้าเอกสารโดยสรุปของการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น อาทิเช่นวันเวลาเดินทาง สถานที่ที่ต้องการเที่ยว และรายการหรืออธิบายสั้น ๆ ถึงเอกสารที่รวบรวมมาเพื่อประกอบการพิจารณา
  3. สัญญาเช่า/สัญญากู้บ้าน/ผ่อนรถ – เป็นเอกสารประกอบเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ที่มีภาระผูกพันกับฐานที่อยู่ในประเทศไทย ให้ทางสถานทูตมั่นใจได้ว่าคุณจะกลับมาอย่างแน่นอน

หลังจากที่เราเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ในการขอวีซ่าเชงเก้นตามวันนัดหมาย การสัมภาษณ์จะเป็นการถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ ที่ทำงาน วัตถุประสงค์ในการเดินทาง ข้อมูลการเดินทางอื่นๆ ซึ่งเราจะต้องตอบให้สอดคล้องกับรายละเอียดที่กรอกลงในแบบฟอร์มคำขอ และเอกสารที่ได้ยื่นไป โดยปกติขั้นตอนการสัมภาษณ์นี้จะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 10-15 นาที

หลังจากนั้นก็รอผลในการขอวีซ่า ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 15 วันทำการ แต่ในบางกรณีอาจจะนานถึง 45 วันทำการเลยทีเดียว หากผลของวีซ่าออกมาผ่านก็เตรียมตัวไปเที่ยวยุโรปตามแผนที่วางเอาไว้ได้เลย แต่ถ้าใครที่ถูกปฎิเสธก็ไม่ต้องเสียใจไป เราสามารถนำเหตุผลในการปฎิเสธครั้งนี้ไปปรับปรุงเพื่อใช้ในการยื่นวีซ่ารอบถัดไปได้ และหากใครซื้อประกันการเดินทางของ Allianz Travel ก็สามารถทำเรื่องขอคืนเงินด้วยเหตุผลว่ายื่นวีซ่าไม่ผ่านได้ค่ะ*

และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลวิธีขอวีซ่าเชงเก้นเที่ยวยุโรป ซึ่งหากเราทำตามขั้นตอน และเตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อให้สถานทูตมั่นใจว่าคุณไปเที่ยวจริง ๆ  โอกาสที่เราจะได้วีซ่าก็น่าจะสูง และได้ไปเยือนเมืองในฝันสมดั่งใจต้องการ ส่วนใครที่อยากเที่ยวแต่ยังเกรงๆ กับขั้นตอนการขอวีซ่าอยู่ Allianz Travel ก็ขอส่งกำลังใจให้คุณยื่นขอวีซ่าให้สำเร็จนะคะ

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

เลือกแผนประกันเดินทางที่ใช่สำหรับคุณ ประกันการเดินทาง Dance Moves จาก Allianz Travel

9 สิ่งที่คุณควรรู้ ในการ เตรียมตัวศึกษาต่อต่างประเทศ

9 สิ่งที่คุณควรรู้ การเตรียมตัว ศึกษาต่อต่างประเทศ

การศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นหนึ่งในการเดินทางออกไปผจญภัยครั้งสำคัญในชีวิต เมื่อคุณสมัครเข้าเรียนในโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการหรือเป้าหมายของคุณแล้ว ก็ถึงเวลาเริ่มเตรียมตัวสำหรับการเดินทางครั้งใหญ่ของคุณ คุณเริ่มมีคำถามมากมาย อย่างเช่น ต้องเตรียมอะไรบ้าง ต้องมีประกันภัยการเดินทางหรือไม่ ควรจัดการกับเงินและโทรศัพท์อย่างไรขณะอยู่ต่างประเทศ Allianz Travel พร้อมให้ความช่วยเหลือและแนะนำแนวทางเบื้องต้น อ่าน 9 สิ่งที่คุณต้องรู้ ในการเตรียมตัว ศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อให้คุณเดินทางได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นค่ะ

1. ทำหนังสือเดินทางและขอวีซ่า

คุณต้องมีหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางและศึกษาต่อต่างประเทศ หากคุณมีอยู่แล้ว ตรวจเช็คว่าหมดอายุหรือยัง และถ้ายังไม่หมดอายุ ก็ควรมีอายุมากกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ออกเดินทาง นอกจากนี้ หากคุณเคยเดินทางไปต่างประเทศบ่อย คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีหน้าว่างในหนังสือเดินทางของคุณ ดูสถานที่ทำพาสปอร์ตในกรุงเทพและปริมณฑลได้ที่นี่

การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - ทำหนังสือเดินทางและขอวีซ่า

นอกจากหนังสือเดินทางแล้ว คุณอาจต้องขอวีซ่าเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ละประเทศมีข้อกำหนดในการขอวีซ่าที่แตกต่างกัน อ่านระเบียบข้อบังคับของประเทศที่คุณต้องการไปศึกษาจากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศหรือสถานทูตของประเทศนั้นๆ หรือติดต่อขอข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดของวีซ่าและข้อจำกัดการเดินทางจากสถานทูตหรือสถานกงสุลที่ใกล้ที่สุดของประเทศที่คุณวางแผนจะไป การยื่นคำร้องขอวีซ่าอาจใช้เวลาหลายวันไปจนถึงหลายเดือนในการดำเนินการ ดังนั้นอย่ารอช้า! คุณอาจจำเป็นต้องตรวจร่างกายและประวัติ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละประเทศ

2. ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

วางแผนไปพบแพทย์และตรวจร่างกายก่อนออกเดินทาง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพที่ดี นำประวัติทางการแพทย์ของคุณติดตัวไปด้วยเผื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินในต่างประเทศ เช็คข้อกำหนดการฉีดวัคซีนของประเทศปลายทาง และจองเวลาฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะแจ้งประเภทของวัคซีนที่คุณต้องฉีดมาให้คุณทราบล่วงหน้า (ถ้ามี) แต่หากคุณอยากได้ข้อมูลล่าสุด คุณอาจต้องติดต่อศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค

การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

ถ้าคุณมีโรคประจำตัวที่ต้องทานยาตามใบสั่งแพทย์เป็นประจำ คุณต้องการนำยาติดตัวไปให้เพียงพอสำหรับการอยู่ต่างประเทศตลอดระยะเวลาที่ศึกษาต่อ (ถ้าเป็นไปได้) ยาที่นำติดตัวไปต้องบรรจุในภาชนะที่มีฉลากถูกต้อง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นยาที่ผิดกฎหมาย คุณควรนำใบสั่งยาหรือบันทึกที่ลงนามโดยแพทย์ของคุณมาด้วย

3. ดูเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาเพื่อหาตั๋วเครื่องบินราคาไม่แพง

ปัจจุบัน การหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกจะเป็นเรื้องของช่วงเวลาและโชคช่วย ค่าตั๋วอาจมีราคาแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับวันและเวลาที่คุณต้องการบินและสถานที่ที่คุณซื้อตั๋ว เข้าเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาเพื่อหาเที่ยวบินที่ราคาถูกที่สุดสำหรับวันที่คุณต้องการ นอกจากนี้ คุณอาจสอบถามจากตัวแทนที่จัดการเรื่องการศึกษาต่อต่างประเทศ เพราะพวกเขาสามารถจัดหาตั๋วที่มีความยืดหยุ่นและราคาไม่แพงสำหรับนักเรียนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศให้ได้

การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - ดูเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาเพื่อหาตั๋วเครื่องบินราคาไม่แพง

ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ สอบถามไว้ก่อนว่าตั๋วสามารถเปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้หรือไม่ เพราะคุณคงไม่อยากซื้อตั๋วใหม่ทั้งใบ หากคุณตัดสินใจที่จะอยู่ต่างประเทศนานขึ้นอีกหน่อย! สายการบินส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนวันเดินทางบวกกับส่วนต่างของราคา แต่ตั๋วบางประเภทสามารถเปลี่ยนวันได้โดยไม่ต้องสียค่าใช้จ่าย

เราขอแนะนำให้คุณเดินทางไปถึงล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 วันก่อนวันเปิดเทอม เพื่อช่วยให้คุณปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่หรืออาการเจ็ทแล็ก

4. ศึกษาประเพณีท้องถิ่นของประเทศจุดหมายปลายทาง

การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - ศึกษาประเพณีท้องถิ่นของประเทศจุดหมายปลายทาง

ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ใช้เวลาศึกษาทำความคุ้นเคยกับประเทศปลายทางของคุณให้ดียิ่งขึ้น อย่างเช่น เรื่องวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ รัฐบาล และสิ่งอื่นๆ พูดคุยกับคนอื่นๆ ที่เคยอยู่ที่นั่นและหาโอกาสชมภาพยนตร์และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศและวัฒนธรรมของประเทศนั้น เรียนรู้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ

5. ฝึกฝนทักษะทางภาษาของคุณ

ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศไหน หากไม่ใช่ประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ คุณควรเรียนรู้คำพูดหรือวลีพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปในภาษาของประเทศนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณสื่อสารกับเพื่อนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังช่วยให้คุณสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่ายขึ้น ความพยายามที่จะสื่อสารกับใครสักคนในภาษาของพวกเขา แสดงว่าคุณกำลังให้ความสนใจกับวัฒนธรรมของพวกเขา และช่วยสร้างความสัมพันธ์ได้ในระยะยาว

การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - ฝึกฝนทักษะทางภาษาของคุณ

ยิ่งไปกว่านั้น คำพูดง่ายๆ ยังช่วยให้คุณเอาตัวรอดในสถานการณ์ประจำวัน เช่น การสั่งอาหารหรือการสอบถามเส้นทาง ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจและมั่นใจในสิ่งรอบตัว เนื่องจากคุณจะสามารถพูดจาโต้ตอบง่ายๆ ได้มากขึ้น

คุณอาจเตรียมพร้อมสำหรับประสบการณ์การเรียนในต่างประเทศด้วยการลงทะเบียนเรียนภาษา ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่พูดภาษานั้นๆ ได้ ดาวน์โหลดแอปภาษา เพื่อใช้ในการพูดคุยในชีวิตประจำวันของคุณ เป็นต้น

6. เตรียมการเงินของคุณสำหรับการไป ศึกษาต่อต่างประเทศ

การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - เตรียมการเงินของคุณ

ตั้งค่าบัญชีออนไลน์

จัดการเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์และตั้งค่าให้เรียบร้อย เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดการเงินของคุณในขณะที่อยู่ต่างประเทศ ส่วนใหญ่คุณสามารถใช้บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต เพื่อกดเงินสดในสกุลเงินท้องถิ่น นอกจากนี้ สอบถามให้แน่ใจว่าบัตรเครดิตของคุณไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ มิฉะนั่นคุณต้องเสียเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก หากคุณใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้ารายวัน

แจ้งธนาคารและผู้ให้บริการบัตรของคุณว่าคุณจะไป ศึกษาต่อต่างประเทศ

คุณต้องแจ้งธนาคารและผู้ให้บริการบัตรเครดิตของคุณเกี่ยวกับแผนการศึกษาต่อในต่างประเทศ มิฉะนั้น คุณอาจเสี่ยงที่จะถูกล็อคบัญชีของคุณขณะอยู่ต่างประเทศได้ เพราะพวกเขาอาจตั้งค่าสถานะว่าเป็นการฉ้อโกง

นำเงินสดสำรองไปด้วย

นำเงินสดสำรองไปใช้สำหรับ 2-3 วันแรก และในกรณีฉุกเฉิน แลกเงินในสกุลเงินของประเทศปลายทางของคุณประมาณ 5,000-10,000 บาท หากคุณไม่สามารถแลกสกุลเงินนั้นๆ ได้ที่ประเทศไทย ให้นำดอลลาร์สหรัฐติดตัวไปหรือกดถอนเงินสดที่ตู้ ATM ในสนามบินปลายทางทันทีที่คุณมาถึง

7. การจัดเตรียมของที่จะนำไปด้วย

พยายามนำของไปให้น้อยที่สุด สอบถามสายการบินเรื่องน้ำหนักสัมภาระที่อนุญาตให้โหลดใต้ท้องเครื่องและถือขึ้นเครื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมของสัมภาระที่น้ำหนักเกิน สายการบินส่วนใหญ่จะอนุญาตจำนวนสัมภาระดังต่อไปนี้:

  • กระเป๋าใบใหญ่ที่โหลดใต้ท้องเครื่องไม่เกิน 2 ใบ
  • กระเป๋าถือขึ้นเครื่อง เช่น เป้สะพายหลัง 1 ใบ
  • กระเป๋าใส่ของใช้ส่วนตัว เช่น กระเป๋าเงิน  1 ใบ

เคล็ดลับการจัดกระเป๋าสำหรับการไป ศึกษาต่อต่างประเทศ

  • นำอุปกรณ์อาบน้ำขนาดพกพาติดตัวไปด้วยเพื่อใช้ในช่วงสองสัปดาห์แรกของคุณ
  • ทิ้งผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูที่นอนไว้ที่บ้าน เพราะจะทำให้เปลืองพื้นที่ในกระเป๋า ควรไปหาซื้อที่ประเทศปลายทาง
  • นำรองเท้ามาสัก 3-4 คู่ (ถ้าจำเป็น)
  • นำหัวแปลงปลั๊กไฟสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของคุณติดไปด้วย
  • นำภาพถ่ายครอบครัวหรือภาพความทรงจำของครอบครัมมาด้วยเพื่อช่วยแก้อาการคิดถึงบ้าน
  • หากคุณสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ อย่าลืมนำแว่นสำรองติดตัวไปด้วย
การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - การจัดเตรียมของที่จะนำไปด้วย

ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลนักเรียนหรือนักศึกษาต่างประเทศว่าควรนำของใช้จำเป็นอะไรไปบ้าง ซึ่งของบางอย่างสามารถหาซื้อได้ในต่างประเทศและราคาไม่แพง ศึกษาสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง ถ้าคุณกำลังเดินทางไปประเทศที่อยู่ทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรในเดือนมกราคม คุณก็ไม่จำเป็นต้องเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย

อย่าลืมนำรูปถ่าย สูตรอาหาร และของที่ระลึกจากที่บ้านมาด้วย เพราะของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยได้ในช่วงเวลาที่คิดถึงบ้าน นำสมุดบันทึกมาจดประสบการณ์การศึกษาต่อในต่างประเทศของคุณ นอกจากนี้ ของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ จากประเทศไทย ยังเป็นของขวัญที่ดีสำหรับเพื่อนใหม่หรือครอบครัวอุปถัมภ์

8. หาข้อมูลแพคเกจผู้ให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต

การเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ - หาข้อมูลแพคเกจผู้ให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต

การใช้โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเมื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ คุณอาจต้องโทรติดต่อคนที่มารับที่สนามบิน ค้นหาสถานที่สำคัญหรือดูเส้นทางการเดินทางผ่าน Google Maps หาข้อมูลรถรับส่งก่อนที่คุณจะเดินทาง ใช้แอปหรือโซเชียลมีเดียเพื่อโทรและส่งข้อความถึงคนที่บ้านได้โดยไม่เสียค่าบริการระหว่างประเทศ ก่อนซื้อแพคเกจการใช้งานอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ให้บริการในประเทศไทย คุณควรศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบกับราคาแพคเกจโทรศัพท์มือถือในประเทศปลายทาง นอกจากนี้ หากเป็นไปได้ ให้เตรียมโทรศัพท์สำรองราคาถูกไว้ด้วย เผื่อมีเหตุเกิดขึ้นกับโทรศัพท์ของคุณ!

9. ทำประกันภัยการเดินทางสำหรับ ศึกษาต่อต่างประเทศ

การมีประกันสุขภาพและอุบัติเหตุที่เชื่อถือได้ในขณะที่คุณกำลังศึกษาในต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงความคุ้มครองสำหรับการเคลื่อนย้ายฉุกเฉินและการส่งตัวกลับประเทศ (แต่หวังว่าจะไม่เกิดเหตุเช่นนั้น!) ประกันสุขภาพของคุณอาจคุ้มครองคุณในต่างประเทศ แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์อื่นๆ* ที่คุณจะได้รับเพิ่มเติมจากประกันภัยสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น:

  • เที่ยวบินล่าช้า
  • กระเป๋าเดินทางหรือทรัพย์สินส่วนตัวสูญหาย
  • การพลาดการต่อเที่ยวบิน
  • ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก
  • ค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย เมื่อเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านชั่วคราว

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่เราควรมีติดตัวไว้ระหว่าง ศึกษาต่อต่างประเทศ คือ ประกันภัยสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ ที่จะช่วยให้คุณและครอบครัวอุ่นใจ ยามที่คุณต้องอยู่ไกลบ้าน ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นขณะไปท่องเที่ยวช่วงวันหยุด หรือค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยขณะกลับมาเยี่ยมบ้าน อ่านรายละเอียดความคุ้มครองของ ประกันภัยสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ Allianz Travel ได้ที่นี่*

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

ขอบคุณข้อมูลจาก : Preparing for Study Abroad: 9 Things You Need to Know | Go Overseas

เลือกแผนประกันเรียนต่อต่างประเทศที่ใช่สำหรับคุณ ประกันเรียนต่อต่างประเทศ Overseas Student Care จาก Allianz Travel

ประกันเดินทางสำหรับเรียนต่อต่างประเทศ จำเป็นหรือไม่?

ประกันเดินทางสำหรับเรียนต่อต่างประเทศ จำเป็นหรือไม่

นักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังจะเริ่มต้นผจญภัยครั้งใหม่กับการเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวรับมือกับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย และบางครั้งอาจทำอะไรไม่ถูก หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเมื่ออยู่ไกลบ้าน อย่างเช่น เจ็บป่วยกะทันหันจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ประสบอุบัติเหตุ ปัญหาทรัพย์สินหรือกระเป๋าเดินทางสูญหายหรือเสียหายระหว่างเดินทางกับขนส่งสาธารณะ เที่ยวบินเกิดการล่าช้าและต้องติดอยู่ที่สนามบินเป็นเวลานาน เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เสียเงินจำนวนไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นเพื่อความอุ่นใจ และมั่นใจได้ว่าจะมีตัวช่วยยามเกิดปัญหา สิ่งหนึ่งที่จำเป็นและควรเตรียมพร้อมไปจากเมืองไทยก็คือประกันภัยสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ ที่ช่วยคุ้มครองครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากเหตุดังกล่าว

ความแตกต่างระหว่างประกันภัยการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศและประกันสุขภาพสำหรับนักเรียนต่างชาติ

ประกันการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ Allianz Travel ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมตั้งแต่วินาทีที่เดินทางออกจากประเทศไทยสูงสุด 2 ปี นอกจากความคุ้มครองขณะที่กำลังเรียนอยู่ต่างประเทศ ยังให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินขณะกลับประเทศไทยเป็นการชั่วคราวกรณีศึกษาระยะยาวมากกว่า 1 ปี ซึ่งแตกต่างกับประกันสุขภาพนักเรียนต่างชาติที่คุ้มครองคุณเฉพาะในช่วงเวลาระหว่างการศึกษาในต่างประเทศเท่านั้น

ประกันการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศประกันสุขภาพสำหรับนักเรียนต่างชาติ
ให้ความคุ้มครองตั้งเริ่มต้นออกเดินทางจากประเทศไทยจนถึงช่วงระหว่างการศึกษา และยังมีความคุ้มครองรวมถึงค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินขณะกลับประเทศไทยเป็นการชั่วคราว และต้องเดินทางกลับไปศึกษาต่อให้ความคุ้มครองในช่วงเวลาระหว่างศึกษาต่อและสามารถต่ออายุได้ตลอดการศึกษาในต่างประเทศ
ต้องทำประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศก่อนเดินทางจากประเทศไทยสามารถทำประกันสุขภาพนักเรียนต่างชาติได้ทั้งก่อนออกเดินทางจากประเทศไทยหรือหลังจากเดินทางไปถึงต่างประเทศ
คุ้มครองการสูญเสียค่าเล่าเรียน หากเกิดเหตุที่ไม่สามารถศึกษาต่อได้ในภาคเรียนที่จ่ายเงินไปแล้วไม่คุ้มครองการสูญเสียค่าเล่าเรียน
คุ้มครองการสูญหาย หรือความเสียหายของกระเป๋าเดินทางหรือทรัพย์สินส่วนตัวไม่คุ้มครองการสูญหาย การโจรกรรม หรือความเสียหายของกระเป๋าเดินทางหรือทรัพย์สินส่วนตัว
คุ้มครองการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉินและการส่งกลับประเทศคุ้มครองการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉินและการส่งกลับประเทศ
เหมาะสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาต่อระยะสั้นและต้องการความคุ้มครองระหว่างช่วงเวลาการเดินทางเหมาะสำหรับนักเรียนและนักศึกษาที่จะพำนักอยู่ต่างประเทศเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 24 เดือน

ประกันเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ เหมาะสำหรับใครบ้าง?

  • นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนคอร์สภาษาระยะสั้น
  • นักเรียนหรือนักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาต่อในหลักสูตรระยะยาวกับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
  • เดินทางเพื่อทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

หมายเหตุ:

ข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้เอาประกันภัยขึ้นอยู่กับบริษัทที่คุณซื้อประกัน ดูรายละเอียดประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศ Allianz Travel

ประกันเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ ครอบคลุมอะไรบ้าง?

ประกันเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ Overseas Student Care ของ Allianz Travel ครอบคลุมค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นระหว่างเดินทางและช่วงเวลาที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยกะทันหัน การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน การสูญเสียหรือเสียหายของกระเป๋าเดินทางหรือทรัพย์สินระหว่างใช้บริการขนส่งสาธารณะ เป็นต้น

ตัวอย่างความคุ้มครอง*

  • ชดเชยค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุสูงสุด 5,500,000 บาท
    • ค่าแพทย์ ค่ายา ค่ารถพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน ค่าห้องพักผู้ป่วยหนัก
    • ค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินขณะกลับประเทศไทยเป็นการชั่วคราว และต้องเดินทางกลับไปศึกษาต่อ
    • ค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องในประเทศไทย หากมีความจำเป็นต้องได้รับการติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง
  • ชดเชยการสูญเสียค่าเล่าเรียนสูงสุด 300,000 บาท หากเกิดเหตุที่ไม่สามารถศึกษาต่อได้ในภาคเรียนที่จ่ายเงินไปแล้ว
  • ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหาร เพื่อให้ญาติสนิทเดินทางไปเยี่ยมผู้เอาประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในขณะอยู่ต่างประเทศนานกว่า 5 วัน ในการเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือต้องเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉินกลับประเทศไทย
  • ค่าเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน กรณีผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยกระทันหัน รวมถึงการเคลื่อนย้ายเพื่อนำผู้เอาประกันภัยกลับสู่ประเทศไทย
  • คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกายโดยอุบัติเหตุ จนทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สูญเสียการมองเห็นหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
  • ชดเชยการสูญหายหรือเสียหายของกระเป๋าเดินทางหรือทรัพย์สินส่วนตัว ขณะเดินทางด้วยการขนส่งสาธารณะ
  • ประกันความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก โดยบริษัทจะให้ความคุ้มครองสำหรับความรับผิดตามกฎหมายที่ผู้เอาประกันภัยต้องชดใช้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างเดินทางในต่างประเทศ 

เลือกประกันเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ แผนไหนดี?

ประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศแต่ละแผนมีความคุ้มครองและวงเงินผลประโยชน์ความคุ้มครองที่มากน้อยแตกต่างกัน ควรอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไข ข้อกำหนด เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ และรายละเอียดกรมธรรม์อย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อประกันภัย

ขั้นตอนการซื้อประกันสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ

Allianz Travel นำเสนอประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถซื้อได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงเลือกประเทศจุดหมายปลายทาง ระยะเวลาในการเดินทางนับตั้งแต่วันที่ออกเดินทางไปจนถึงวันที่เดินทางกลับ หลังจากนั้นคุณจะได้เห็นตัวเลือกของแต่ละแผนที่มีสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน อ่านและทำความเข้ารายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครองก่อนทำการชำระเงิน เพียงแค่ไม่กี่นาที คุณก็จะได้รับกรมธรรม์ประกันภัยทางที่อยู่อีเมลที่คุณแจ้งไว้

ข้อควรทราบก่อนซื้อประกันเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ

  • ไม่ควรซื้อแผนที่ถูกที่สุด ถึงแม้ว่ามันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายตอนซื้อ แต่แผนประกันภัยการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศที่ราคาถูกอาจไม่ได้ให้ความคุ้มครองครบในสิ่งที่คุณต้องการในยามฉุกเฉิน
  • เลือกแผนประกันที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในระดับที่เหมาะสม เหมาะกับค่าใช้จ่ายในประเทศที่กำลังจะไปศึกษา
  • อ่านเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างละเอียด ดูว่าสิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้รับครอบคลุมอะไรบ้าง และมีเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือข้อยกเว้นอะไรบ้าง
  • ตรวจเช็คว่าแผนที่คุณเลือกเป็นไปตามข้อกำหนดของโรงเรียนหรือข้อกำหนดของวีซ่านักเรียนหรือไม่
  • ศึกษาวิธีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้เตรียมเอกสารและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
  • เลือกบริษัทที่มีเบอร์โทรติดต่อ และให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง 

ประกันเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ มีระยะเวลาคุ้มครองนานแค่ไหน?

ประกันสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศของ Allianz Travel สามารถเลือกระยะเวลาความคุ้มครองให้ตรงตามระยะเวลาที่คุณจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศได้ตั้งแต่ 3 เดือนจนถึง 24 เดือน และความคุ้มครองจะเริ่มต้นตั้งแต่วินาทีที่คุณเดินทางออกจากประเทศไทย

ควรทำประกันเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ ตอนไหน?

เงื่อนไขสำคัญของการทำประกันภัยการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศคือคุณจะต้องซื้อก่อนออกเดินทางจากประเทศไทยอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หากคุณเดินทางออกจากประเทศไทยไปแล้ว คุณจะไม่สามารถซื้อประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศจากบริษัทในประเทศไทยได้ แต่ในบางกรณี คุณอาจต้องซื้อประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการยื่นขอวีซ่า หรือแสดงต่อสถาบันการศึกษาที่คุณสมัครตามข้อกำหนด เพื่อให้ได้เอกสารยืนยันการรับคุณเข้าเรียน

ประกันการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร?

ราคาของประกันภัยสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศขึ้นอยู่กับ:

  • ระยะเวลาที่คุณต้องการความคุ้มครอง หากคุณเดินทางนาน ค่าเบี้ยก็จะสูงขึ้น
  • วงเงินผลประโยชน์ความคุ้มครอง หากคุณเลือกแผนประกันที่มีวงเงินสูง คุณจะต้องจ่ายค่าเบี้ยในราคาที่แพงขึ้น

ประกันภัยการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นข้อบังคับหรือไม่?

ในกระบวนการขอวีซ่าสำหรับบางประเทศ อาจมีข้อกำหนดให้ยื่นประกันภัยการเดินทางหรือประกันภัยการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศสำหรับนักเรียนที่กำลังจะไปศึกษาต่อต่างประเทศร่วมกับการขอวีซ่านักเรียน เพื่อแสดงให้สถานทูตเห็นว่าคุณมีประกันภัยการเดินทางเพียงพอสำหรับช่วงเริ่มต้นของการศึกษา แต่ถึงแม้ว่าคุณจะไปศึกษาในประเทศที่ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีประกันภัยการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ ก็ไม่ควรประมาท การซื้อประกันการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศไว้จะช่วยให้คุณเดินทางได้อย่างอุ่นใจไร้กังวลหากต้องเจอกับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างเดินทางอยู่ต่างประเทศ เช่น การเจ็บป่วยหรือการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการมีประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศไว้ ช่วยให้คุณและครอบครัวอุ่นใจ แม้ยามที่คุณต้องอยู่ไกลบ้าน อ่านรายละเอียดความคุ้มครองของประกันภัยการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ Allianz Travel ได้ที่นี่*

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด


เลือกแผนประกันเรียนต่อต่างประเทศที่ใช่สำหรับคุณ ประกันเรียนต่อต่างประเทศ Overseas Student Care จาก Allianz Travel