สำหรับคนที่กำลังวางแผนไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเพื่อเที่ยว ทำงาน เรียนต่อ หรือวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม เรื่องสุขภาพคงเป็นเรื่องหนึ่งที่กำลังกังวลใจอยู่แน่ ๆ เพราะถ้าเจ็บป่วยขึ้นมาแล้ว ค่ารักษาพยาบาลคงไม่ใช่น้อยๆ วันนี้ Allianz Travel จึงขอพาผู้อ่านมาทำความรู้จักเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เจ็บป่วยต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่ ตามไปดูกันเลยค่ะ
ระบบประกันสุขภาพสหรัฐอเมริกา
ก่อนอื่นเลย เรามาทำความรู้จักระบบประกันสุขภาพของประเทศสหรัฐอเมริกากันก่อน โดยพื้นฐานแล้วที่นี่จะไม่มีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Healthcare) เหมือนที่ประเทศไทยค่ะ ประกันสุขภาพที่รัฐบาลมีให้มีเพียงสองโครงการเท่านั้นคือ Medicare และ Medicade โดย Medicare จะเป็นหลักประกันสังคมที่คุ้มครองผู้สูงอายุที่เกษียณ และอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น โดยจะได้รับความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และอื่นๆ ก็ต่อเมื่อเคยทำงานและจ่ายเงินสมทบ 10 ปีขึ้นไป ส่วนคนที่ทำงานและจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 10 ปี ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มเติม ขณะที่โครงการ Medicade จะเป็นประกันสำหรับคนยากจนเท่านั้น โดยมีรัฐบาลส่วนกลาง มลรัฐ และท้องถิ่นร่วมกันออกค่าใช้จ่ายให้ และมลรัฐมีหน้าที่บริหารจัดการโครงการนี้ การจะได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่โครงการ จะใช้เกณฑ์รายได้เป็นตัวตั้ง ซึ่งแต่ละมลรัฐก็จะมีเกณฑ์แตกต่างกันไป รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมก็จะแตกต่างกันไปด้วยค่ะ
สรุปแล้ว หลักประกันสุขภาพของสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียงคนยากจนและผู้สูงอายุเท่านั้น ส่วนวัยทำงาน หรือบุคคลทั่วไป จะไม่มีระบบประกันสุขภาพให้ ประชาชนทั่วไปต้องซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชนตามกำลังและรายได้ของตนเอง และค่าประกันอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณในการรักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับคนไทยที่กำลังเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเพื่อเที่ยว ศึกษาต่อ หรือทำธุรกิจต่าง ๆ ค่ารักษาพยาบาลไม่ได้แตกต่างจากคนท้องถิ่นมากนัก ด้านล่างนี้คือค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 16,000 บาท หรือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ
- พบแพทย์ฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 4,800 – 96,000 บาท หรือ 150 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- นอนโรงพยาบาล 1 คืน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 160,000 บาท หรือ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- พบแพทย์ทั่วไป ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 3,200 – 6,400 บาท หรือ 100-200 ดอลลาร์สหรัฐ
- MRI ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 32,000 – 160,000 บาท หรือ 1,000 – 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- X-ray ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 4,800 – 96,000 บาท หรือ 150 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ตรวจเลือด ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 3,200 – 96,000 บาท หรือ 100 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- แขนหัก ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 16,000 บาท หรือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าต้องผ่าตัดเริ่มที่ 224,000 – 320,000 บาท หรือ 7,000 – 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ขาหัก ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 80,000 บาท หรือ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าต้องผ่าตัดเริ่มที่ 544,000 – 1,120,000 บาท หรือ 17,000 – 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ
จากรายการข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าค่ารักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าแพงเอาเรื่องเลยค่ะ เมื่อเทียบกับประเทศไทยหรือประเทศอื่น ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่คุณภาพและความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลสูง ทำให้ต้องจ่ายค่าบุคคลากรทางการแพทย์แพง และค่ายาที่นี่ก็แพงเช่นเดียวกัน เมื่อเจ็บป่วย เข้ารับการรักษา จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายแพงค่ะ
หลายคนคงสงสัยว่า ถ้าค่ารักษาพยาบาลแพงแบบนี้ มีทางเลือกอื่นที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายไหม ? คำตอบก็คือ ถ้าเป็นบุคคลทั่วไป นักท่องเที่ยว หรือนักศึกษาที่ไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาชั่วคราว ประกันภัยการเดินทางสำหรับท่องเที่ยวหรือศึกษาต่อ ถือเป็นตัวเลือกน่าสนใจที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ เพราะเพียงทำประกันภัยการเดินทางเพียงหลักร้อยหรือหลักพัน ก็ได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหลักล้านแล้วค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูล
How Much Does Healthcare Cost in the USA
ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทยและสหรัฐฯ
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและดูแลคุณ
อลิอันซ์ทราเวลเป็นผู้นำระดับโลกด้านประกันภัยการเดินทางและบริการช่วยเหลือทั่วไป เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายให้เลือก ครอบคลุมตั้งแต่แผนรายเที่ยว แผนรายปี แผนครอบครัว ไปจนถึงแผนเดินทางศึกษาต่อต่างประเทศ เราทุ่มเทที่จะให้บริการช่วยเหลือและปกป้องคุณทุกที่ ทุกเวลาเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประกันภัยและการให้ความช่วยเหลือ แต่เรามุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มากกว่านั้น และทุกบริการของเราก็เพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา