เจ็บป่วยที่สหรัฐอเมริกา เสียค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่?

สำหรับคนที่กำลังวางแผนไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเพื่อเที่ยว ทำงาน เรียนต่อ หรือวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม เรื่องสุขภาพคงเป็นเรื่องหนึ่งที่กำลังกังวลใจอยู่แน่ ๆ เพราะถ้าเจ็บป่วยขึ้นมาแล้ว ค่ารักษาพยาบาลคงไม่ใช่น้อยๆ วันนี้ Allianz Travel จึงขอพาผู้อ่านมาทำความรู้จักเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เจ็บป่วยต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่ ตามไปดูกันเลยค่ะ

ระบบประกันสุขภาพสหรัฐอเมริกา

ก่อนอื่นเลย เรามาทำความรู้จักระบบประกันสุขภาพของประเทศสหรัฐอเมริกากันก่อน โดยพื้นฐานแล้วที่นี่จะไม่มีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Healthcare) เหมือนที่ประเทศไทยค่ะ ประกันสุขภาพที่รัฐบาลมีให้มีเพียงสองโครงการเท่านั้นคือ Medicare และ Medicade โดย Medicare จะเป็นหลักประกันสังคมที่คุ้มครองผู้สูงอายุที่เกษียณ และอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น โดยจะได้รับความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และอื่นๆ ก็ต่อเมื่อเคยทำงานและจ่ายเงินสมทบ 10 ปีขึ้นไป ส่วนคนที่ทำงานและจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 10 ปี ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มเติม ขณะที่โครงการ Medicade จะเป็นประกันสำหรับคนยากจนเท่านั้น โดยมีรัฐบาลส่วนกลาง มลรัฐ และท้องถิ่นร่วมกันออกค่าใช้จ่ายให้ และมลรัฐมีหน้าที่บริหารจัดการโครงการนี้ การจะได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่โครงการ จะใช้เกณฑ์รายได้เป็นตัวตั้ง ซึ่งแต่ละมลรัฐก็จะมีเกณฑ์แตกต่างกันไป รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมก็จะแตกต่างกันไปด้วยค่ะ

สรุปแล้ว หลักประกันสุขภาพของสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียงคนยากจนและผู้สูงอายุเท่านั้น ส่วนวัยทำงาน หรือบุคคลทั่วไป จะไม่มีระบบประกันสุขภาพให้ ประชาชนทั่วไปต้องซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชนตามกำลังและรายได้ของตนเอง และค่าประกันอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณในการรักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับคนไทยที่กำลังเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเพื่อเที่ยว ศึกษาต่อ หรือทำธุรกิจต่าง ๆ ค่ารักษาพยาบาลไม่ได้แตกต่างจากคนท้องถิ่นมากนัก ด้านล่างนี้คือค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

  1. เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 16,000 บาท หรือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ
  2. พบแพทย์ฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 4,800 – 96,000 บาท หรือ 150 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  3. นอนโรงพยาบาล 1 คืน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 160,000 บาท หรือ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  4. พบแพทย์ทั่วไป ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 3,200 – 6,400 บาท หรือ 100-200 ดอลลาร์สหรัฐ
  5. MRI ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 32,000 – 160,000 บาท หรือ 1,000 – 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  6. X-ray ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 4,800 – 96,000 บาท หรือ 150 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  7. ตรวจเลือด ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 3,200 – 96,000 บาท หรือ 100 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  8. แขนหัก ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 16,000 บาท หรือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าต้องผ่าตัดเริ่มที่ 224,000 – 320,000 บาท หรือ 7,000 – 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  9. ขาหัก ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 80,000 บาท หรือ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าต้องผ่าตัดเริ่มที่ 544,000 – 1,120,000 บาท หรือ 17,000 – 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ

จากรายการข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าค่ารักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าแพงเอาเรื่องเลยค่ะ เมื่อเทียบกับประเทศไทยหรือประเทศอื่น ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่คุณภาพและความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลสูง ทำให้ต้องจ่ายค่าบุคคลากรทางการแพทย์แพง และค่ายาที่นี่ก็แพงเช่นเดียวกัน เมื่อเจ็บป่วย เข้ารับการรักษา จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายแพงค่ะ

หลายคนคงสงสัยว่า ถ้าค่ารักษาพยาบาลแพงแบบนี้ มีทางเลือกอื่นที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายไหม ? คำตอบก็คือ ถ้าเป็นบุคคลทั่วไป นักท่องเที่ยว หรือนักศึกษาที่ไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาชั่วคราว ประกันภัยการเดินทางสำหรับท่องเที่ยวหรือศึกษาต่อ ถือเป็นตัวเลือกน่าสนใจที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ เพราะเพียงทำประกันภัยการเดินทางเพียงหลักร้อยหรือหลักพัน ก็ได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหลักล้านแล้วค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูล
How Much Does Healthcare Cost in the USA
ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทยและสหรัฐฯ

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและดูแลคุณ

อลิอันซ์ทราเวลเป็นผู้นำระดับโลกด้านประกันภัยการเดินทางและบริการช่วยเหลือทั่วไป เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายให้เลือก ครอบคลุมตั้งแต่แผนรายเที่ยว แผนรายปี แผนครอบครัว ไปจนถึงแผนเดินทางศึกษาต่อต่างประเทศ เราทุ่มเทที่จะให้บริการช่วยเหลือและปกป้องคุณทุกที่ ทุกเวลาเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประกันภัยและการให้ความช่วยเหลือ แต่เรามุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มากกว่านั้น และทุกบริการของเราก็เพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา

เจ็บป่วยที่ญี่ปุ่นทำอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

สำหรับคนที่กำลังจะเดินทางหรือกำลังวางแผนไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเพื่อเที่ยว ทำงาน เรียนต่อ หรือวัตถุประสงค์อะไรก็ตามแต่ เรื่องสุขภาพนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่กำลังกังวลใจอยู่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาพยาบาลในประเทศนั้นๆ ดังนั้นวันนี้เราจะมาคุยเรื่องเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นให้เป็นตัวอย่าง เพราะว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นเป้าหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับคนไทยอย่างมาก ดังนั้นรู้ไว้ย่อมมีประโยชน์กว่า

ระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่น

ก่อนอื่นเราขออธิบายเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขและรูปแบบการรักษาพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นกันก่อน ซึ่งระบบสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นนั้น ได้ถูกจัดอันดับ ในปี 2559 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ติด 1 ใน 10 จาก 190 ประเทศทั่วโลกในด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งถือได้ว่าต้องมีความพร้อมและน่าเชื่อถือสุดๆ แต่อย่างไรก็ตามระบบการรักษาพยาบาลหรือเข้ารับการรักษาในประเทศญี่ปุ่นก็มีความแตกต่างจากบ้านเราพอสมควรที่เราควรรู้ไว้ด้วยเช่นกันจะได้ไม่เสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น สำหรับกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือไม่สบายที่ญี่ปุ่น เราสามารถซื้อยาจากร้านขายยา โดยร้านขายยาในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ร้านขายยาทั่วไป เป็นร้านขายยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ที่จะขายยาพื้นฐานหรือที่เราเรียกว่า ยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งจะเป็นร้านขายยาทั่วไปและอาจมีขายเครื่องสำอางค์ร่วมด้วย อันนี้ปกติธรรมดาเหมือบ้านเรา
2. ร้านขายยาจริงๆ ที่ต้องมีใบสั่งยาโดยแพทย์ประกอบด้วย ซึ่งค่อนข้างจะเข้มงวดกว่าร้านขายยาทั่วไปอย่างมาก

นอกจากนี้แล้วคนญี่ปุ่นมักนิยมเข้า คลีนิค ที่จะเป็นคลินิกเฉพาะทางในการรักษาโรคนั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากบ้านเราที่คลีนิคจะสามารถให้บริการได้หลายโรค ดังนั้นแล้ว หากเลือกที่จะเข้ารักษากับคลีนิคที่ประเทศญี่ปุ่นก็ควรดูให้ดีก่อนว่าคลีนิคที่เราจะเข้ารับบริการนั้นเป็นคลีนิคเฉพาะทางกับความเจ็บป่วยที่เราเป็นหรือไม่ มิเช่นนั้นอาจถูกปฏิเสธการรักษาแล้วจะทำให้รำคาญใจได้ ดังนั้นเราอาจศึกษาเตรียมตัวก่อนการเดินทางโดยศึกษาจาก คู่มือการการใช้บรการหน่วยงานทางการแพทย์ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งออกโดย องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (JNTO)

ค่าใช้จ่ายประมาณการในการรักษาพยาบาลที่ประเทศญี่ปุ่น

อย่างที่ทราบกันว่าประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศชาตินิยมและเคารพสิทธิมนุษยชนของส่วนรวมมากๆ ดังนั้นเรื่องค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ประชาชนเจ็บป่วย ทางรัฐจะช่วยดูแลสนับสนุนและให้ผ่อนจ่ายได้ โดยถือว่าเป็นระบบสวัสดิการประกันสุขภาพรูปแบบหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น โดยประชาชนญี่ปุ่นทุกคนจะต้องเข้าระบบประกันการรักษาพยาบาลจากรัฐ และรวมถึงชาวต่างชาติที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนานกว่า 3 เดือน ก็ต้องเข้าระบบประกันนี้ด้วย เพราะฉะนั้น คนที่เดินทางไปเรียน หรือไปทำงาน ซึ่งอยู่เกิน 3 เดือนขึ้นไป จะสามารถได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับคนญี่ปุ่นเช่นกัน เพราะได้จ่ายค่าประกันสุขภาพแก่ประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่นไป ส่วนของค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ที่เข้าระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นนั้น ผู้เอาประกันจะจ่ายเพียงบางส่วน 10-30% ตามอายุ และส่วนที่เหลือรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ คือ

1) ประชาชนจ่าย 30% ของยอดชำระ และที่เหลือประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่นรับผิดชอบ
2) ประชาชนจ่าย 20% หากเป็นพลเมืองญี่ปุ่นที่อายุ 70 ปี ขึ้นไป และไม่ได้ทำงาน
3) ประชาชนจ่าย 10% หากเป็นพลเมืองญี่ปุ่นที่อายุ 75 ปี ขึ้นไป

จะเป็นว่าผู้ที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพนั้นจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยมากหากเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ชาวต่างชาติที่ไม่ได้อยู่ในระบบ หรือนักท่องเที่ยวที่โดยปกติอัตราค่ารักษาพยาบาลระหว่างพลเมืองญี่ปุ่นกับชาวต่างชาติก็ต่างกันอยู่แล้ว ด้านล่างนี้ค่าค่าใช้จ่ายประมาณการสำหรับการรักษาพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติ ที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดกับนักท่องเที่ยว โดยเรทการคำนวนเป็นเงินบาท อ้างอิงจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 10 มกราคม 2563 (28.01 บาท / 100 เยน)

1. พบหมอต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 10,000 – 50,000 เยน หรือ 2,800 – 14,000 บาท
2. นอนโรงพยาบาล 1 คืน เริ่มต้นที่ 100,000 เยน หรือ 28,000 บาท
3. หกล้ม ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าหัก ค่าใช้จ่ายระหว่าง 10,000 – 50,000 เยน หรือ 2,800 – 14,000 บาท
4. CT Scan เริ่มต้นที่ 30,000 เยน หรือ 8,400 บาท
5. ถอนฟัน 20,000 เยน หรือ 5,600 บาท
6. เคลื่อนย้ายฉุกเฉินระหว่างเมือง สามารถมีค่าใช้จ่ายสูงสุดถึง 5 ล้านเยน หรือ 1.4 ล้านบาท

โดยที่ค่ารักษาพยาบาลที่ญี่ปุ่น บางรายการอาจราคาถูกกว่าที่ประเทศไทย แต่บางรายการก็แพงกว่า โดยค่ารักษาพยาบาลโดยประมาณในประเทศญี่ปุ่นนั้น โดยทั่วไปจะมีค่าที่ปรึกษาครั้งแรกสำหรับคลินิกท้องถิ่น ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 3,000 ถึง 5,000 เยน และค่าใช่จ่ายสำหรับการนัดติดตามผลอยู่ที่ประมาณ 600 เยนต่อครั้ง หมายความว่าจำเป็นต้องจ่ายค่าที่ปรึกษารวมกับค่าธรรมเนียมสำหรับการนัดติดตามผลในครั้งแรก และหลังจากนั้นก็จะเป็นครั้งละ 600 เยนต่อครั้ง แต่อันนี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายสำหรับชาวต่างชาติแต่เป็นสำหรับพลเมืองญี่ปุ่น หากเป็นคลินิกสำหรับชาวต่างชาติ ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น โดยอาจมีค่าที่ปรึกษาครั้งแรกถึง 10,000 เยนเป็นต้นไปได้เลยทีเดียว และอาจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมปรึกษาใหม่ทุกครั้งเมื่อพบหมอคนใหม่ ดังนั้นจึงเป็นการดีกว่าหากว่าเราจะพบแพทย์คนเดิมที่เราเคยหามาก่อน จะเห็นได้ว่าแค่มองคร่าวๆ ค่าใช้จ่ายสำหรับรักษาพยาบาลสำหรับพลเมืองและนักท่องเที่ยวนั้นแตกต่างกันค่อนข้างมากเกือบเท่าตัว

นอกจากเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่ต้องคำนึงถึง ประเทศญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นหากเดินทางไปท่องเที่ยวในเขตจังหวัดที่มีความเสี่ยงแล้วประสบอุบัติเหตุก็จะต้องมีค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรประมาท ดังนั้นการทำประกันการเดินทางเอาไว้กับการเดินทางออกนอกประเทศทุกกรณี เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเสียเงินกับค่ารักษาพยาบาลสูงๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำไว้ด้วย เพื่อว่าหากเกิดอะไรฉุกเฉินขึ้นจะได้ไม่ต้องกังวล แม้อาจจะมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและอาจจะไม่ได้ใช้ แต่หลายๆเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ดังนั้น ไม่ว่าเป็นการเดินทางไปในประเทศไหนๆ จะสั้นหรือจะยาว ก็อย่าได้ประมาทและทำประกันเดินทางไว้ล่วงหน้าเพื่อความสบายใจกันดีกว่า ท่องเอาไว้ “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและดูแลคุณ

อลิอันซ์ทราเวลเป็นผู้นำระดับโลกด้านประกันภัยการเดินทางและบริการช่วยเหลือทั่วไป เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายให้เลือก ครอบคลุมตั้งแต่แผนรายเที่ยว แผนรายปี แผนครอบครัว ไปจนถึงแผนเดินทางศึกษาต่อต่างประเทศ เราทุ่มเทที่จะให้บริการช่วยเหลือและปกป้องคุณทุกที่ ทุกเวลาเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประกันภัยและการให้ความช่วยเหลือ แต่เรามุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มากกว่านั้น และทุกบริการของเราก็เพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา