6 ข้อเตรียมพร้อม พาครอบครัวเที่ยวต่างประเทศ

หนึ่งในความฝันของลูก ๆ หลายคนเมื่อเข้าสู่วัยทำงานแล้ว ก็คือการพาครอบครัวไปเที่ยวต่างประเทศพร้อมหน้าพร้อมตากัน แต่การจะไปเที่ยวทั้งครอบครัวก็อาจจะต้องมีการเตรียมการบางอย่างเป็นพิเศษต่างจากการไปเที่ยวเองหรือไปกับกลุ่มเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไปกับพ่อแม่หรือผู้สูงอายุ เราควรจะต้องวางแผนการท่องเที่ยวอย่างรอบคอบและรัดกุมเหมาะสมกับท่านด้วย ดังนั้น Allianz Travel จึงขอเสนอข้อแนะนำ 6 ข้อเตรียมพร้อม สำหรับผู้อ่านที่กำลังวางแผนพาครอบครัวไปเที่ยวเมืองนอก ว่าจะวางแผนเที่ยวกันอย่างไร และต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

1.กำหนดสถานที่เที่ยวตามใจครอบครัว

การวางแผนพาพ่อแม่หรือครอบครัวเที่ยว สิ่งแรกที่ควรหลีกเลี่ยงเลยคือการกำหนดที่เที่ยวตามใจเรา เพราะพ่อแม่ท่านอาจจะไม่ชอบ หรือสถานที่นั้นอาจไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ดังนั้นแล้ว ควรถามคุณพ่อคุณแม่และคนอื่น ๆ ก่อนว่า อยากไปที่ไหนและให้ท่านเลือกเลย โดยเราอาจจะเสนอประเทศเที่ยวให้ท่านเป็นตัวเลือกสัก 5 ประเทศ และกิจกรรมที่จะไปทำอย่างคร่าว ๆ หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่มีที่เที่ยวอยู่ในใจแล้ว ก็ยิ่งสบายไปใหญ่ การกำหนดสถานที่เที่ยวตามใจครอบครัวถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ และไม่ควรมองข้ามนะคะ

2.กำหนดแผนเที่ยวตามไลฟ์สไตล์ครอบครัว

นอกจากจะกำหนดสถานที่เที่ยวตามใจครอบครัวแล้ว ไลฟ์สไตล์ก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ถ้าไปเที่ยวกับพ่อแม่ ก็ต้องดูว่าท่านชอบเที่ยวแบบไหน เที่ยวสบาย ๆ กับทัวร์ หรือเป็นสายลุย ชอบเที่ยวเอง ถ้าไปเที่ยวกันเอง ก็ต้องดูว่าสุขภาพท่านเป็นอย่างไรบ้าง แข็งแรงขนาดไหน เพราะบางสถานที่ วัน ๆ เดินไม่ต่ำกว่า 5 กิโลเลยค่ะ ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงแล้ว ก็แนะนำให้พาท่านไปกับทัวร์จะดีกว่าค่ะ แต่ถ้าไม่ชอบไปทัวร์กับคนอื่น ก็อาจจะจองทัวร์ส่วนตัว หรือว่าเช่ารถขับเที่ยวก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกค่ะ นอกจากนี้ ถ้ามีเด็ก ๆ ไปเที่ยวด้วย ก็ต้องคำนึงว่า เด็กจะซนไหม หรือเด็กจะเบื่อไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องไปสถานที่ท่องเที่ยวที่คนเยอะ ๆ อาจพลัดหลงกันได้เลย

3.วางแพลนเที่ยวแบบหยืดหยุ่น และเลือกโรงแรมที่พักให้ดี

โดยปกติแล้ว ถ้าเราไปเที่ยวคนเดียว หรือเที่ยวกับเพื่อน เราก็จะวางตารางเที่ยวแน่นมากภายในหนึ่งวัน (เรียกได้ว่าเที่ยวให้คุ้มเลยหล่ะค่ะ) ภายในหนึ่งวัน ตั้งแต่เช้ายันค่ำ เราอาจเที่ยวได้ 7-8 สถานที่เลย แต่เมื่อเราไปกับครอบครัวแล้ว ไม่ควรวางตารางเที่ยวให้แน่นมากนัก ควรมีความยืดหยุ่นและเผื่อเวลา ในแต่ละวัน กำหนดสถานที่เที่ยวสัก 3-4 ที่ ก็เพียงพอแล้วค่ะ นอกจากนี้แล้ว การเลือกโรงแรมที่พักก็สำคัญ ไปคนเดียวหรือไปกับเพื่อนจะนอนพักที่ไหนก็ได้ แต่ไปกับครอบครัว ต้องนอนโรงแรมดี ๆ ไว้ก่อน ความสะดวกสบาย บรรยากาศ อาหาร และการบริการต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะไปกับคุณพ่อคุณแม่ เราก็อยากให้ท่านได้รับความสะดวกสบายที่สุด ที่สำคัญ อย่าลืมเลือกโรงแรมที่ใกล้กับรถไฟฟ้า หรือใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวและตลาดนะคะ เพราะจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายเป็นสองเท่า รับรองว่าคุณพ่อคุณแม่และครอบครัวต้องชอบแน่ ๆ ค่ะ

4.วางแผนค่าใช้จ่ายทั้งทริป

การพาพ่อแม่และครอบครัวไปเที่ยว ไม่เหมือนกับการพาเพื่อนหรือแฟนไปเที่ยว ที่เราสามารถช่วยกันออกค่าใช้จ่ายได้ การไปเที่ยวกับครอบครัว อย่างน้อยเราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสามคน (พ่อ แม่ และตัวเอง) เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเลือกสถานที่เที่ยวได้แล้ว เลือกได้ว่าจะไปเองหรือไปกับทัวร์แล้ว ต้องวางแผนค่าใช้จ่ายทั้ง ทริปให้ดีว่า จะใช้เงินไปกับอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าทัวร์ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าบัตรเข้าสถานที่เที่ยวและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา ดังนั้นแล้ว ควรกำหนดไปเลยว่าจะใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ทั้งทริปจะใช้จ่ายเท่าไหร่ และพยายามคุมงบประมาณให้อยู่ในแผน งบประมาณจะได้ไม่บานปลายค่ะ

5.จัดเตรียมเอกสารเดินทางและเอกสารอื่นๆ

ถ้าหากว่าครั้งนี้เป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกของพ่อแม่ ดังนั้นเราก็ต้องคอยดูแลเรื่องเอกสารสำคัญสำหรับท่านด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพาท่านไปทำพาสปอร์ต จัดการทำวีซ่า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเดินทางและการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองด้วย จะได้ไม่ติดปัญหาอะไรตั้งแต่เริ่มต้น พาลให้ท่านต้องหงุดหงิดใจจนเที่ยวไม่สนุกซะเปล่าๆ

6. ซื้อประกันการเดินทางสำหรับครอบครัว เตรียมพร้อมเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว

ในยามที่เราต้องพาคุณพ่อคุณแม่ไปเที่ยวต่างประเทศ เรื่องความปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมพร้อมไว้เช่นกัน เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าระหว่างการเที่ยวแล้ว จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ยิ่งถ้าเราดูแลเพียงลำพัง ก็อาจจะดูแลได้ไม่ทั่วถึง ถ้าคุณพ่อคุณแม่พลาดท่าลื่นล้ม เกิดอุบัติเหตุ และต้องเข้าโรงพยาบาล เราก็อาจจะต้องกันเงินไว้สำหรับค่ารักษาด้วย แต่แอบกระซิบก่อนเลยว่า ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเมืองนอก แพงมาก บางเคสถึงหลักล้านเลยทีเดียว ดังนั้นจะให้ดีที่สุด การซื้อประกันการเดินทางสำหรับครอบครัวไว้ก่อน ย่อมอุ่นใจกว่าค่ะ อย่างน้อยเราก็มีประกันที่จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเผื่อไว้แล้ว และเอาเงินที่อาจต้องกันไว้ ไปใช้จ่ายเพื่อความสุขของท่านให้เต็มที่จะดีกว่าค่ะ

การวางแผนเที่ยวกับครอบครัวเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และความรอบคอบเป็นพิเศษ เพื่อที่จะให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขกับทริปที่จะไป เมื่อเตรียมตัวพร้อมทุกข้อแล้ว ก็ถึงเวลาออกเดินทางจริงแล้วค่ะ สำหรับใครที่สนใจประกันการเดินทาง ที่ Allianz Travel เรามีประกันการเดินทางสำหรับครอบครัว คุ้มครองสูงสุดถึง 4 ท่าน ในราคาพิเศษ โดยคุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล และความช่วยเหลือฉุกเฉิน เพียงเท่านี้ ก็ท่องเที่ยวอุ่นใจ หายห่วงได้แล้วค่ะ

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและดูแลคุณ

อลิอันซ์ทราเวลเป็นผู้นำระดับโลกด้านประกันภัยการเดินทางและบริการช่วยเหลือทั่วไป เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายให้เลือก ครอบคลุมตั้งแต่แผนรายเที่ยว แผนรายปี แผนครอบครัว ไปจนถึงแผนเดินทางศึกษาต่อต่างประเทศ เราทุ่มเทที่จะให้บริการช่วยเหลือและปกป้องคุณทุกที่ ทุกเวลาเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประกันภัยและการให้ความช่วยเหลือ แต่เรามุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มากกว่านั้น และทุกบริการของเราก็เพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา

7 ข้อ เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนไปเรียนต่อต่างประเทศ

การเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นจุดมุ่งหมายและความฝันของใครหลาย ๆ คนที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เมื่อเราสมัครเรียนต่อและผ่านการคัดเลือกเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่เราจะออกเดินทางนั้น ก็มีเรื่องให้เตรียมตัวอยู่พอสมควร อาทิ เรื่องเอกสาร การวางแผนการใช้จ่ายเงิน การจองที่พักและตั๋วเครื่องบินต่างๆ เป็นต้น Allianz Travel จึงขอชวนผู้อ่านที่กำลังเตรียมตัวไปเรียนต่อเมืองนอก มาสำรวจกันว่า ก่อนที่จะออกเดินทางจริง ต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง

1.ซื้อตั๋วเครื่องบิน และหาที่พัก

เมื่อสมัครเรียน ได้รับการคัดเลือก และสมัครวีซ่าผ่านแล้ว ขั้นตอนแรกของการเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนไปเรียนนอก ก็คือการซื้อตั๋วเครื่องบินและหาที่พักนั่นเอง โดยปกติแล้ว เราจะจองตั๋วเครื่องบินก่อนเดินทางจริง ประมาณ 3 – 6 เดือน ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าการจองแบบกระชั้นชิด ในขณะที่การหาที่พัก ถือเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร เพราะที่พักมีหลายแบบ และหลายราคาให้เลือก ตั้งแต่หอพักในแคมปัส หอพักใกล้แคมปัส อพาร์ทเมนท์แบ่งเช่า ไปจนถึงโฮมสเตย์ การเลือกที่พักควรคำนึงถึงความสะดวกสบาย และราคาเป็นหลัก เพราะราคาที่แพงเกินไป อาจทำให้เราต้องลดค่าใช้จ่ายจำเป็นในส่วนอื่น ๆ ลง และถ้าที่พักไกลจากแคมปัสมากเกินไป การเดินทางอาจไม่สะดวกสบาย และทำให้เสียเวลาเดินทางอีกด้วย

2.แลกเงินสด และวางแผนการเงินก่อนเดินทาง

อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการวางแผนการใช้เงินตลอดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอม ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่ากิน ค่าของใช้ส่วนตัว ค่าหนังสือ ค่าเที่ยว และค่าอื่นๆ การวางแผนการใช้จ่ายก่อนเดินทาง จะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือน จะต้องใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยให้เราคุมงบตลอดปีได้ และก่อนออกเดินทาง อย่าลืมแลกเงินสดให้สามารถพกติดตัวอยู่ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และไปเปิดบัญชีธนาคารที่ต่างประเทศเมื่อไปถึง หรือจะใช้วิธีแลก Bank Draft หรือ Traveler’s Check ไว้ใช้ในระยะยาวก็ได้ อีกวิธีหนึ่งที่เป็นทางเลือกก็คือ การพกบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตจากประเทศไทยไปด้วย

3.เตรียมเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว และยาประจำตัว

เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว และยาประจำตัว ถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวควรจะทำ Checklist ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าต้องนำอะไรไปบ้าง จะได้ไม่ลืม เสื้อผ้าที่จะเตรียมไป ควรจะเตรียมไปโดยอิงจากสภาพอากาศของประเทศที่จะไป ถ้าไปประเทศแถวยุโรปและอเมริกา เสื้อกันหนาวเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย และที่สำคัญ อย่าลืมพวกอุปกรณ์ปลั๊กพ่วง ที่ควรจะพก Universal Plug ไปเผื่อด้วย ขณะที่ยาประจำตัว เป็นสิ่งที่ลืมไม่ได้เด็ดขาด เพราะว่าบางประเทศ การจะซื้อยาได้ ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ลำบากมาก ๆ ยาที่ควรพกติดตัวไปด้วย อาทิ ยาแก้หวัด ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้แพ้ เป็นต้น ถ้ามีเอกสารทางการแพทย์ที่ระบุถึงโรคประจำตัวหรือยาที่ต้องทานประจำ ก็ควรจะพกติดตัวไปด้วยครับ

4.เตรียมเอกสารสำคัญต่างๆ

ก่อนเดินทางจริง ควรรีเช็กให้แน่ใจว่าไม่ลืมเอกสารสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพาสปอร์ต เอกสารการเรียนต่าง ๆ บัตรประชาชน หรือเอกสารอื่น ๆ ที่ระบุตัวตน เอกสารเหล่านี้สำคัญมาก ๆ ถ้าลืมก็อาจทำให้เกิดความยุ่งยากตามมาอีกมาก

5.วางแพลนเที่ยว หรือหางานพิเศษทำ

แน่นอนว่าเมื่อไปเรียนต่อต่างประเทศ หลายคนก็อยากที่จะไปเที่ยวตามสถานที่ใหม่ ๆ และหาประสบการณ์ ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อนโดยปกติแล้ว จะมีทั้งหมด 3 ช่วงให้เราได้วางแพลนเที่ยวยาว ๆ ช่วงแรกคือช่วง Reading Week ซึ่งจะเป็นสัปดาห์ที่ให้นักศึกษาหยุดเพื่ออ่านหนังสือสอบ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ช่วงที่สองคือช่วงปิดเทอมเล็ก และช่วงที่สามคือช่วงปิดเทอมใหญ่ นอกจากนี้ สำหรับใครที่ไม่ชอบเที่ยว แต่อยากหางานพิเศษทำ ก็ควรศึกษาแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ที่ไทยว่า มหาวิทยาลัยหรือแคมปัสที่จะไป โดยรอบบริเวณ มีเปิดรับสมัครพาร์ทไทม์ที่ไหนบ้าง รายได้ต่อชั่วโมงเท่าไหร่ เมื่อไปถึง เราจะได้ไม่เสียเวลามาหาที่ทำงานพิเศษอีกรอบ ไปเรียนต่อเมืองนอกทั้งที การวางแพลนเที่ยว และหางานพิเศษทำ ถือเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์แปลกใหม่ที่ไม่ควรพลาดครับ

6.ทำความรู้จักวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศที่จะเดินทางไป

เมื่อเราเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำการบ้านให้พร้อมก่อนออกเดินทางก็คือ การทำความรู้จักวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละประเทศเบื้องต้น ถ้าเราเข้าใจวัฒนธรรมและประเพณีแล้ว จะช่วยลดการเกิด Culture Shock ณ ประเทศที่เราจะเดินทางไปเรียนต่อได้ อาทิ การเข้าใจวัฒนธรรมการใช้มือกินข้าวของคนอินเดีย-มาเลเซีย หรือการนับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักในบางประเทศ การรู้วัฒนธรรมเหล่านี้ล่วงหน้า จะช่วยให้เราเตรียมพร้อม และปรับตัวได้ไวขึ้น

7.ซื้อประกันการเดินทาง

ข้อสุดท้าย ซึ่งถือเป็นข้อสำคัญมาก ๆ และไม่ควรมองข้าม คือการซื้อประกันการเดินทาง หลาย ๆ ประเทศ จะบังคับว่านักศึกษาต้องซื้อประกันการเดินทางไปด้วย และอีกหลาย ๆ ประเทศแนะนำให้ซื้อประกันการเดินทางก่อนไป เมื่อเราไปอยู่อาศัย ณ ประเทศปลายทางแล้ว เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดอุบัติเหตุเมื่อไหร่ ถ้าเราไม่มีประกันการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศแล้ว อุบัติเหตุบางเคส อาจจะเสียค่ารักพยาบาลเป็นล้าน! และสำหรับคนที่ซื้อประกันแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ก็เพียงนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง มาเคลมประกันที่ทำไว้ได้เลย แค่นี้ก็สบายใจ หายห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลแล้วครับ

เมื่อเตรียมตัวพร้อมทั้ง 7 ข้อแล้ว ก็ถึงเวลาออกเดินทางไปศึกษาต่อได้อย่างสบายใจแล้วครับ อย่าลืมนะครับว่า ประกันการเดินทางสำคัญมาก ไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างศึกษาต่อ ประกันการเดินทางก็จะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันการเดินทางสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศอยู่ Allianz Travel มีแผนประกันการเดินทาง Overseas Student Care ที่จะคุ้มครองครอบคลุมถึงค่ารักษาพยาบาล เพียงเท่านี้ก็มั่นใจ ไร้กังวล มีความสุขกับการเรียนได้อย่างเต็มที่แล้วครับ

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและดูแลคุณ

อลิอันซ์ทราเวลเป็นผู้นำระดับโลกด้านประกันภัยการเดินทางและบริการช่วยเหลือทั่วไป เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายให้เลือก ครอบคลุมตั้งแต่แผนรายเที่ยว แผนรายปี แผนครอบครัว ไปจนถึงแผนเดินทางศึกษาต่อต่างประเทศ เราทุ่มเทที่จะให้บริการช่วยเหลือและปกป้องคุณทุกที่ ทุกเวลาเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประกันภัยและการให้ความช่วยเหลือ แต่เรามุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มากกว่านั้น และทุกบริการของเราก็เพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา

[INFOGRAPHIC] ปลั๊กไฟ – ประเทศไหนใช้อะไรดี

คุณรู้หรือไม่ว่าในแต่ละประเทศที่อยู่ในแต่ละทวีปนั้นใช้เต้ารับหัวปลั๊กที่แตกต่างกัน? รวมถึงมีกำลังไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนที่เราจะเดินทางไปยังประเทศปลายทางควรศึกษาเสียก่อนว่าประเทศนั้นใช้หัวปลั๊กแบบไหนกำลังไฟเท่าไหร่เพื่อเตรียมตัวแปลงและเต้ารับที่เหมาะสมติดกระเป๋าเดินทางไปด้วย

ปลั๊กไฟ ประเทศไหน ใช้รูปแบบไหน

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกทริป..อย่าลืมหยิบหัว ปลั๊กไฟ ประเทศปลายทางใส่กระเป๋า

หลายคนอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องเตรียมติดตัวไปก็ได้ เดี๋ยวค่อยไปหาซื้อที่ประเทศนั้น ๆ เลย แต่เมื่อถึงเวลาเดินทางจริง ๆ คุณอาจยุ่งหรือไม่อยู่ในสถานการณ์ที่สามารถหาซื้อได้และมันมักเกิดขึ้นในเวลาที่คุณต้องการมันจริง ๆ เช่น ในเวลาที่คุณต้องการใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณผ่านแอพพลิเคชั่น การใช้สายสนทนาแบบโรมมิ่งหรืออาจต้องการใช้โทรศัพท์ในการถ่ายรูป ถ้าคุณนำกล้องไปด้วยก็ต้องใช้ไฟในการชาร์จแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูปรวมไปถึงการชาร์จไฟเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหากนำไปด้วย เป็นต้น

โชคดีที่มีเว็บที่รวบรวมข้อมูลกำลังไฟและชนิดของปลั๊กที่ใช้งานในแต่ละประเทศเอาไว้ ซึ่งสามารถเปิดดูได้ที่นี่ (http://www.iec.ch/worldplugs/list_bylocation.htm) และสำหรับประเทศที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยวอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน ใต้หวัน โซนยุโรป โซนอเมริกา มีข้อมูลดังนี้

  • ไทย กำลังไฟ 220V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B/C/F
  • ญี่ปุ่น กำลังไฟ 100V 50Hz/60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B
  • เกาหลีใต้ กำลังไฟ 110V/220V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type C/F
  • สิงคโปร์ กำลังไฟ 230V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type C/G/M
  • จีน กำลังไฟ 220 V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type A/C/I
  • ฮ่องกง 220V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type G/D
  • อีนเดีย 230V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type C/D/M
  • ไต้หวัน กำลังไฟ 110V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B
  • ทวีปยุโรป หลายประเทศ เช่น รัสเซีย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ออสเตรีย กำลังไฟ 230V 50 Hz ส่วนใหญ่ใช้ปลั๊ก Type C ร่วมกับ F และ เดนมาร์ก C/F/E/K ส่วนType G เฉพาะประเทศอังกฤษ Type C และ J เฉพาะสวิตเซอร์แลนด์ Type C และE เฉพาะ ฝรั่งเศส เช็ก และเบลเยี่ยม
  • ทวีปอเมริกา  กำลังไฟ กำลังไฟ 120V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B สำหรับ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และกำลังไฟ 120V 60Hz สำหรับบราซิล (เป็นประเทศที่ยังมีไฟฟ้าระบบ 2 แรงดันควรตรวจสอบกำลังไฟก่อนใช้งานเพื่อป้องกันเครื่องใช้ฟฟ้าเสียหาย) บราซิลใช้ปลั๊ก Type C และ N เม็กซิโก กำลังไฟ 127V 60Hz ใช้ปลั๊ก Type A/B สุดท้าย กำลังไฟ 220V 50Hz ใช้ปลั๊ก Type C/I สำหรับอาร์เจนตินา
  • ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 230V 50 Hz ใช้ปลั๊ก Type I

ทำความรู้จักกับรูปร่างหน้าตาของ ปลั๊ก TYPE ต่างๆ

ปลั๊กไฟ TYPE A

ปลั๊กไฟ TYPE A
Type A – http://www.iec.ch/worldplugs/typeA.htm

ใช้งานในประเทศ ไทย ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และบางประเทศในโซนอเมริกาอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา เป็นต้น ปลั๊ก Type A นี้คุ้นตาคนไทยเป็นอย่างดีเพราะเป็นปลั๊กที่เราใช้งานกันเป็นประจำ เป็นปลั๊กแบบมีขั้วแบนขนาดเท่ากัน 2 ขั้วสำหรับเสียบที่เต้ารับทั่วไปนั่นเอง

ปลั๊กไฟ TYPE B

 ปลั๊กไฟ TYPE B
Type B – http://www.iec.ch/worldplugs/typeB.htm

ใช้ในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และบางประเทศในโซนอเมริกาอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา เป็นต้น ที่จริงเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชิ้นที่ใช้เราใช้งานกันอยู่ในไทยก็ใช้ปลั๊กแบบนี้ คือมีลักษณะเป็นขั้วแบน 2 ขั้วและขั้วกลม 1 ขั้วซึ่งเป็นขากราวด์ต่อสายดินให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

ปลั๊กไฟ TYPE C

ปลั๊กไฟ TYPE C
Type C – http://www.iec.ch/worldplugs/typeC.htm

เป็นหัวปลั๊กมาตราฐานสากลที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งใช้กันเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรปและในอาร์เจนตินา ปลั๊กมีลักษณะเป็นหัวกลม 2 ขั้ว สังเกตุกันดี ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยก็ยังใช้ปลั๊ก Type C กันอยู่บ้างเพราะเต้ารับในบ้านเรารองรับเจ้าปลั๊ก Type C นี้ด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE D

ปลั๊กไฟ TYPE D
Type D – http://www.iec.ch/worldplugs/typeD.htm

เป็นปลั๊กที่มีขั้วกลม  ขั้วและขั้วกลมใหญ่ซึ่งเป็นขากราวด์อีก 1 ขา ถูกใช้ในประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ตัวปลั๊กมีความคล้ายคลึงกับปลั๊ก Type M และสามารถใช้งานร่วมกับเต้ารับของปลั๊ก Type M ได้

ปลั๊กไฟ TYPE E

ปลั๊กไฟ TYPE E
Type E – http://www.iec.ch/worldplugs/typeE.htm

ใช้ในทวีปยุโรปบางประเทศเช่น ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม หัวปลั๊กมีขั้วกลม 2 ขั้วและคลิปสำหรับกราวด์ 1 ด้าน ส่วนใหญ่สามารถใช้งานเสียบร่วมกับเต้ารับของปลั๊ก Type F ได้

ปลั๊กไฟ TYPE F

ปลั๊กไฟ TYPE F
Type F – http://www.iec.ch/worldplugs/typeF.htm

ใช้ในทวีปยุโรปเกือบทุกประเทศรวมถึงในบ้านเราก็สามาถพบเห็นได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชิ้น หัวปลั๊กมีขั้วกลม 2 ขั้วซึ่งส่วนใหญ่สามารถใช้ร่วมกับเต้ารับ Type E ได้ด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE G

ปลั๊กไฟ TYPE G
Type G – http://www.iec.ch/worldplugs/typeG.htm

เป็นปลั๊กที่มี 3 ขั้วรูปร่างแบนที่มีส่วนปลายเป็นสามเหลี่ยมและมีฟิวส์อยู่ภายในปลั๊กเพื่อความปลอดภัย ถูกใช้ในประเทศอังกฤษ ฮ่องกง สิงคโปร์ สำหรับคนไทยที่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยไปต้องเตรียมอแดปเตอร์สำหรับแปลงไฟไปใช้งานร่วมด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE H

ปลั๊กไฟ TYPE H
Type H – http://www.iec.ch/worldplugs/typeH.htm

เป็นปลั๊กที่เป็นประเภทพิเศษมีรูปทรงเป็นขั้วแบนทั้ง 3 ขั้ว เอียงเข้าหากัน ถูกใช้ในประเทศอิสราเอลเท่านั้นซึ่งขณะนี้ประเทศอิสราเอลกำลังเปลี่ยนไปใช้งาน Type C และ Type M ซึ่งเป็นหัวกลมทดแทนแล้ว

ปลั๊กไฟ TYPE I

ปลั๊กไฟ TYPE I
Type I – http://www.iec.ch/worldplugs/typeI.htm

เป็นปลั๊กที่มีขั้วแบน 3 ขั้วคล้าย Type H แต่เอียงออกไปด้านข้างเป็นรูปตัว V ไม่เอียงหากัน ถูกใช้ในประเทศออสเตรเลีย จีน อาร์เจนตินา หากใช้ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าของไทยต้องใช้ตัวแปลงไฟร่วมกับปลั๊กด้วย

ปลั๊กไฟ TYPE J

ปลั๊กไฟ TYPE J
Type J – http://www.iec.ch/worldplugs/typeJ.htm

ถูกใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยหัวปลั๊กมีลักษณะเป็นขั้วกลม 3 ขั้ว แต่โชคดีที่เต้ารับของปลั๊ก Type J สามารถใช้ร่วมกับปลั๊ก Type C ที่มีขั้วกลม 2 ขั้ว หากนำเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีปลั๊กเป็น Type C ไปก็สามารถเสียบใช้งานได้เลยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์

ปลั๊กไฟ TYPE K

ปลั๊กไฟ TYPE K
Type K – http://www.iec.ch/worldplugs/typeK.htm

เป็นปลั๊กที่ถูกใช้บางประเทศในทวีปยุโรป เช่น เดนมาร์ก โดยหัวปลั๊กมีขั้วกลม 2 ขั้วและขากราวด์อีก 1 ขา ซึ่งเต้ารับของปลั๊ก Type K นี้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหัวปลั๊กแบบ Type C ได้เลยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์แปลงกำลังไฟ

ปลั๊กไฟ TYPE L

ปลั๊กไฟ TYPE L
Type L – http://www.iec.ch/worldplugs/typeL.htm

ถูกใช้ในประเทศอิตาลี หัวปลั๊กมีขั้วกลมเรียงในแนวเดียวกัน 3 ขั้ว โดยขากลางเป็นกราวด์ ซึ่งเต้ารับของปลั๊ก Type L นั้นสามารถใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหัวปลั๊กแบบ Type C และ Type F โดยสามารถนำปลั๊กมาเสียบได้เลยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์แปลงกำลังไฟ

ปลั๊กไฟ TYPE M

ปลั๊กไฟ TYPE M
Type M – http://www.iec.ch/worldplugs/typeM.htm

เป็นปลั๊กที่มีหัวกลม 2 ขั้วและขากราวด์ที่มีขนาดใหญ่กว่าขั้วกลมทั้งสอง ถูกใช้ในประเทศแอริกาใต้และประเทศใกล้เคียง ซึ่งเต้ารับของปลั๊ก Type M สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีปลั๊ก Type D ได้โดยไม่ต้องใช้อแดปเตอร์แปลง

ปลั๊กไฟ TYPE N

ปลั๊กไฟ TYPE N
Type N – http://www.iec.ch/worldplugs/typeN.htm

เป็นปลั๊กที่มีหัวกลม 3 ขา มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Type J แต่ขากราวด์อยู่ชิดกับขั้วหลักมากกว่า ปลั๊ก Type นี้ถูกใช้ในประเทศบราซิลเท่านั้น สำหรับเต้ารับของ Type N สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหัวปลั๊กแบบ Type C ได้

ปลั๊กไฟ เยอะขนาดนี้ ทำอย่างไรดี?

หลังจากศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกำลังไฟและหัวปลั๊กที่สามารถนำไปใช้งานได้ในประเทศนั้น ๆ แล้ว ก่อนอื่นคุณต้องสำรวจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คุณจะนำติดตัวไปนั้นมีอะไรบ้าง มีกี่ชิ้นและใช้หัวปลั๊กแบบใด หากดูแล้วไม่สามารถใช้ร่วมกับเต้ารับของประเทศนั้นได้ คุณต้องเตรียมหัวแปลงของประเทศนั้นอย่างน้อยหนึ่งอันและปลั๊กพ่วงที่มีเต้าเสียบสามารถรองรับกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณได้ เช่น หากคุณนำมือถือ กล้องถ่ายรูป และโน้ตบุคติดตัวไปด้วย ปลั๊กพ่วงที่มีสามช่องก็น่าจะเพียงพอ แต่หากประเทศที่คุณไปมีกำลังไฟมากกว่าคุณต้องเตรียมอะแดปเตอร์แปลงกำลังไฟใส่กระเป๋าไปด้วยอีก 1 ชิ้น และหากใครเดินทางบ่อยแนะนำให้ซื้อหาหัวแปลงแบบ Universal ติดไว้เลยราคาอยู่ที่ประมาณ 200-400 บาทเท่านั้น

สำหรับแบบ Premium ที่ขายกันอย่างแพร่หลายที่สนามบินทั่วโลกราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 บาท ซึ่งเป็นแบบ All-in-one อันเดียวอยู่ ไม่ต้องค้นหาว่าประเทศนี้ใช้ปลั๊กแบบไหนเพราะสามารถใช้แทนได้ทุก Type

นอกจากนี้ยังตัวแปลงที่เป็น Port USB เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนในการชาร์จมือถือไม่ว่าที่ใดก็ตาม ซึ่งมีสนนราคาตั้งแต่ 400-1200 บาทซึ่งได้เป็น World Travel Adapter kit ของ Apple เลยทีเดียว เท่านี้คุณก็พร้อมเดินทางถ่ายรูปได้รัวๆ ไม่กลัวแบตหมดแล้วล่ะ

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและดูแลคุณ

อลิอันซ์ทราเวลเป็นผู้นำระดับโลกด้านประกันภัยการเดินทางและบริการช่วยเหลือทั่วไป เรามีแผนประกันภัยที่หลากหลายให้เลือก ครอบคลุมตั้งแต่แผนรายเที่ยว แผนรายปี แผนครอบครัว ไปจนถึงแผนเดินทางศึกษาต่อต่างประเทศ เราทุ่มเทที่จะให้บริการช่วยเหลือและปกป้องคุณทุกที่ ทุกเวลาเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประกันภัยและการให้ความช่วยเหลือ แต่เรามุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มากกว่านั้น และทุกบริการของเราก็เพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา